TNN online วิจัยพบ ‘จุลินทรีย์โพรไบโอติก’ กระตุ้นภูมิคุ้มกันสู้โควิด-19

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

วิจัยพบ ‘จุลินทรีย์โพรไบโอติก’ กระตุ้นภูมิคุ้มกันสู้โควิด-19

วิจัยพบ ‘จุลินทรีย์โพรไบโอติก’ กระตุ้นภูมิคุ้มกันสู้โควิด-19

ผลวิจัยชี้จุลินทรีย์ที่มีชีวิต ‘โพรไบโอติก’ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 พบในอาหารที่หากินง่ายในกิมจิ-นมเปรี้ยว

วันนี้ ( 9 มี.ค. 64 )จากผลวิจัย ที่ระบุว่า จุลินทรีย์และแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้มีผลต่อความรุนแรงของโรคโควิด-19 และการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งจะส่งผลทำให้ไวรัสติดเชื้อในเซลล์ในระบบทางเดินอาหารได้ง่ายขึ้น รวมทั้งมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการที่ยังคงอยู่หลังจากหายป่วยจากโรคโควิด19แล้ว

 

ทำให้มีงานวิจัยหลายฉบับจากทั่วโลกได้ จึงมุ่งศึกษา "โพรไบโอติกส์ (Probiotics)"  จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อาจเป็นอีกทางเลือกในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสโคโรนาหรือ SARS-CoV-2 รวมถึงความเป็นไปได้ในการใช้โพรไบโอติกส์เพื่อป้องกันหรือรักษาโรคโควิด-19

 

เช่น นักวิจัยจากจีนได้ทดลองให้ผู้ป่วยโควิด-19 รับประทานโพรไบโอติกส์บางตัว และพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับภูมิคุ้มกันจากโพรไบโอติกส์มีอาการทุเลาลงมากกว่า รวมถึงการติดเชื้อในกระแสเลือดลดลง ปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในอุจจาระมากขึ้น และสามารถทำให้ภูมิคุ้มกันมีความเป็นกลางต่อเชื้อไวรัสได้

 

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยดุ๊ก นอร์ทแคโรไลนา ประเทศสหรัฐ เผยว่า โพรไบโอติกส์ มีความสามารถในการบรรเทาอาการติดเชื้อและลดการแพร่กระจายของเชื้อเหล่านั้นในร่างกาย เราพบว่าโพรไบโอติกส์สามารถกำจัดไวรัสและแบคทีเรียรวมถึงควบคุมการอักเสบ 

ดังนั้นเราจึงควรบริโภค จุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิต  เนื่องจากมีข้อดีมากมาย ได้แก่ 

 

1.เสริมสร้างภุมิคุ้มกัน และช่วยยับยั้งจุลินทรีย์ที่ไม่ดีในลำไส้ หากรับประทานสม่ำเสมอเพื่อได้รับเชื้อที่ดีอาศัยอยู่ภายในลำไส้

 

2.มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ ช่วยลดอาการท้องผูกหรือท้องเสีย ช่วยให้ลำไส้ดูดซึมอาหารได้ดี

 

3.จุลินทรีย์ในนมเปรี้ยว มีโพรไบโอติก ซึ่งเป็นเชื้อที่ดีที่สามารถมีชีวิตอยู่รอดภายในลำไส้ของคนได้ดี

 

4.สามารถทนกรดและน้ำดีที่มีอยู่ในลำไส้ได้เป็นอย่างดี

 

5.ผลิตภัณฑ์ในนมเปี้ยวมีโพรไบโอติก ที่มี Lactobacillus paracasei 431 (พาราคาเซอิ 431 )ที่มีชีวิตอย่างน้อย 9,000 ล้านตัว

 

6.ช่วยลดอาการแพ้น้ำตาลแลกโตส (  เพราะน้ำตาลแลกโตส เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแพ้นมหรือท้องเสีย จะถูกเปลี่ยนเป็นกรดแลกติกที่สามารถย่อยได้ง่ายขึ้น

 

7.จุลินทรีย์ที่ดีชนิดนี้ มีเอนไซม์ ช่วยย่อยโปรตีนนม เคซีน ซึ่งเป็นโปรตีนย่อยยาก ทำให้ร่างกายดูดซึมได้ง่ายขึ้น

 

สำหรับอาหารแหล่งโพรไบโอติก อาทิ   กิมจิ คอทเทจชีส ซาวร์เคราต์ มิโสะ พิคเกิ้ล คอมบูชา แอปเปิ้ลไซเดอร์ เทมเป้ พาร์มีซานชีส โยเกิร์ต ส่วนอาหารที่คนไทยหากินง่าย คือ   ข้าวหมาก ผักกาดดอง ถั่วเน่า และนมเปรี้ยว 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง