TNN online นพ.ยง เผยเหตุผลผู้สูงอายุ - มีโรคประจำตัว ได้รับวัคซีนโควิดก่อน

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

นพ.ยง เผยเหตุผลผู้สูงอายุ - มีโรคประจำตัว ได้รับวัคซีนโควิดก่อน

นพ.ยง เผยเหตุผลผู้สูงอายุ - มีโรคประจำตัว ได้รับวัคซีนโควิดก่อน

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ย้ำ วัตถุประสงค์หลักการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อลดความรุนแรงของโรค ลดการนอนใน รพ.ของผู้ป่วย และลดการเสียชีวิต

วันนี้ (20 ม.ค.64) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า วัคซีนเป็นเรื่องที่สนใจของทั่วโลก ถึงแม้จะมีเงินก็ไม่สามารถหาซื้อได้ในเวลานี้ เนื่องจากในช่วงแรกยังมีความต้องการจำนวนมาก โดยเป็นไปไม่ได้ที่ในปีนี้ จะจัดสรรหาวัคซีนให้มีความเพียงพอกับในประเทศ หลังจากได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ต้องมีการติดตามอย่างน้อย 2 ปี

ส่วนการอนุญาตให้ใช้วัคซีนในภาวะฉุกเฉิน เนื่องจากมีการพัฒนาวัคซีนอันสั้นที่เสร็จภายใน 1 ปี  วัคซีนเป็นตัวช่วยเสริมในการป้องกันโรค จนกว่าจะมีข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับวัคซีน ซึ่งการฉีดวัคซีน เพื่อลดความรุนแรงของโรค ลดการนอนในรพ.ของผู้ป่วย และลดการเสียชีวิต โดยยังไม่มีรายงาน วิจัยที่ชัดเจนว่าวัคซีนสามารถป้องกันการติดโรคได้ ทำให้ต้องฉีดในกลุ่มเสี่ยงก่อน เพื่อลดการเจ็บป่วย การเสียชีวิตในรพ. 

ศ.นพ.ยง ระบุว่า ต้องยอมรับว่า วัคซีนโควิด-19 ตอนนี้เป็นวัคซีนใหม่ มีเป้าประสงค์หลักเพื่อต้องการลดความรุนแรงของโรค ดังนั้นวัคซีนควรฉีดให้กลุ่มเสี่ยงคือ "กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว" หรือ กลุ่มที่หากได้รับเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือมีโอกาสในการเสียชีวิตสูง เป็นกลุ่มแรกที่ควรได้รับวัคซีน 

ส่วนกลุ่มวัยแรงงานคนหนุ่มสาวยังไม่มีความจำเป็นในขณะนี้ ส่วนของกลุ่มเด็กเองก็เช่นกันยังไม่มีข้อมูลรายงานการทดลองการใช้วัคซีนในเด็กจึงยังไม่สามารถฉีดให้กับเด็กต่ำกว่า 18 ปีได้ รวมถึงสตรีตั้งครรภ์ที่ยังไม่ควรรับวัคซีน 

สำหรับการทดลองวัคซีนโควิด-19 ตามขั้นตอนแล้ว จะเริ่มจากการทดลองในห้องทดลองก่อนจะนำไปทดลองในสัตว์ เช่น ทดลองในหนู เพื่อประเมินประสิทธิภาพ หรือทดลองในลิง ก่อนจะเริ่มการทดลองในคนตามจำนวนกลุ่ม ซึ่งจะต้องมีการติดตามผลทั้งประสิทธิภาพผลข้างเคียงโดยมีระยะเวลาค่อนข้างนาน ซึ่งในช่วงของการเกิดโรคระบาดเช่นนี้ จำเป็นต้องลดรระยะเวลาการทดลองลงเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด

ทั้งนี้ วัคซีนโควิด-19 หลายชนิด ที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบันยังอยู่ใน "ระยะทดลอง3" คือ การทดลองในคนที่มีการแบ่งกลุ่มเป้าหมาย และต้องรอติดตามผลการฉีดวัคซีน ซึ่งถือว่าการศึกษายังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่บางส่วนจำเป็นต้องเปิดผลสรุปการศึกษาก่อน โดยยื่นผลข้อมูลในการทดลองต่อองค์การอนามัยโลกเพื่อขอใช้วัคซีนในภาวะฉุกเฉิน 

ขั้นตอนต่อไป คือ การจะนำวัคซีนมาใช้ในคนโดยของประเทศไทย ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าวัคซีนต้องมีการยื่นขอจดทะเบียนและได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ก่อน แม้จะเป็นการใช้วัคซีนในช่วงภาวะฉุกเฉินก็ตาม 

ทั้งนี้ วัคซีนที่มีการขึ้นทะเบียน เช่น "วัคซีน mRNA" เป็นเทคโนโลยีใหม่ ยังไม่มีการใช่ในมนุษย์มาก่อน วัคซีนชนิด "ไวรัสเรคเตอร์" ของ บ.แอสตร้าเซนเนก้า วัคซีนชนิดนี้ เคยมีการใช้มาก่อนในมนุษย์ คือ อีโบล่าวัคซีน 

ขณะที่ "วัคซีนเชื้อตาย" เป็นวิธีดั้งเดิม มีการนำมาใช้กว่า 70 ปี เช่น ในผู้ป่วยโปลิโอ ตับอักเสบเอ และ พิษสุนัขบ้า ซึ่งต้องการการนำเชื้อไวรัสไปเพาะเชื้อใหม่ให้ได้เชื้อจำนวนมาก มีความเสี่ยงต่อคนปฏิบัติงาน โดยหากจะต้องทำเพื่อการผลิตจำนวนมากจะมีราคาต้นทุนสูง แต่ข้อดี คือ การใช้วัคซีนเชื้อตาย มีความปลอดภัยกว่าวัคซีนชนิดอื่น 

ศ.นพ.ยง ยังกล่าวถึงกรณีพบการเสียชีวิต หลังจากการฉีดวัคซีนของ บ.ไฟเซอร์ และโมเดอร์นา โดยระบุว่า ต้องยอมรับประเทศตะวันตกค่อนข้างโปร่งใส่ เมื่อฉีดวัคซีนเข้าไปแล้วเกิดอาการไม่พึ่งประสงค์นั้น ต้องดูว่าเกิดจากวัคซีนหรือไม่ ซึ่งต้องสอบสวนหาสาเหตุอย่างละเอียดต่อไป

เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง