TNN online ไขข้อสงสัย "ไทยชนะ VS หมอชนะ" ต่างกันอย่างไร?

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

ไขข้อสงสัย "ไทยชนะ VS หมอชนะ" ต่างกันอย่างไร?

ไขข้อสงสัย ไทยชนะ VS หมอชนะ ต่างกันอย่างไร?

ไขข้อข้องใจ แอปพลิเคชัน "ไทยชนะ VS หมอชนะ" ต่างกันอย่างไร ใช้อันไหนดี ข้อมูลที่เก็บไปปลอดภัยหรือไม่ แล้วทำไมต้องโหลดทั้งคู่

หลังจากทั่วโลกกำลังเผชิญกับไวรัสโควิด-19 ซึ่งล่าสุดเองไทยก็กำลังป่วยโควิดระลอกใหม่ทำยอดติดเชื้อสะสมใกล้จะ 1 หมื่นรายแล้ว โดยไทยนั้นได้มีการพัฒนาแอปพลิเคชั่น เพื่อเป็นหนึ่งในมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยได้ผุดแอปฯ หมอชนะ กับ ไทยชนะ ขึ้นมา ซึ่งแต่ละแอปฯมีความต่างกันอย่างไรไปดูกันเลย

ไขข้อสงสัย ไทยชนะ VS หมอชนะ ต่างกันอย่างไร?

ไขข้อสงสัย ไทยชนะ VS หมอชนะ ต่างกันอย่างไร?

ไขข้อสงสัย ไทยชนะ VS หมอชนะ ต่างกันอย่างไร?

ไทยชนะ เป็นระบบลงทะเบียนออนไลน์ เพื่อเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานในพื้นที่สาธารณะของประชาชน โดยมีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลเพียงผู้เดียว เพื่อใช้ประโยชน์ในการติดตามข้อมูลและกักโรคได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นแอปฯ ที่หลายคนอาจคุ้นเคยกันดี และง่ายต่อการสแกน QR Code เช็กอิน โดยมีฟังก์ชั่นซึ่งเป็นจุดเด่นต่าง ๆ ดังนี้

1. ใช้เพื่อสแกน QR Code เช็คอิน เมื่อเข้าไปใช้บริการในยังสถานที่ต่าง ๆ

2. การสแกน QR Code จะเป็นการบันทึกสถานที่ ที่เราเดินทางไป

3. ช่วยบันทึกระยะเวลาอยู่ในสถานที่

4. สามารถเช็คอินเป็นกลุ่มได้

5. กดเช็คเอาท์ได้จากแอปฯ กรณีลืมสแกนขากลับ

6. การสแกน QR Code เป็นการลดการสัมผัสจากการหยิบปากกาจดบันทึก

7. ข้อมูลประวัติการเช็กอินของเรา จะถูกลบอัตโนมัติทุก 60 วัน

ไขข้อสงสัย ไทยชนะ VS หมอชนะ ต่างกันอย่างไร?


หมอชนะ เป็นแอปพลิเคชันที่บันทึกข้อมูลการเดินทางของผู้ใช้งานด้วยเทคโนโลยี GPS และ Bluetooth ร่วมกับการสแกน QR Code เช่น ไทยชนะ เพื่อเช็คอินตามสถานที่ต่าง ๆ ทำให้บันทึกการเดินทางของผู้ใช้งานแม่นยำและเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กรมควบคุมโรคและบุคลากรทางการแพทย์สอบสวนโรคได้อย่างรวดเร็ว โดยหมอชนะจะแจ้งไปยังกลุ่มผู้ใช้งานที่มีประวัติสัมผัสหรือเข้าใกล้กับผู้ติดเชื้อ Covid-19 ถึงวิธีการปฏิบัติตนที่ถูกต้องโดยมีฟังก์ชั่นดังนี้

1. มีแบบสอบถามช่วยประเมินความเสี่ยงของผู้ใช้งานเบื้องต้น

2. ใช้เทคโนโลยี Bluetooth ในการติดต่อสื่อสารกับเครื่องอื่นที่อยู่ใกล้กัน กรณีมีผู้ติดเชื้อที่เคยอยู่ในพื้นที่ที่คุณไป แอปฯ จะสามารถเตือนคุณให้เข้าสู่กระบวนการตรวจหาเชื้อได้ เนื่องจากบางคนอาจจะมีความเสี่ยงจากการพบผู้ติดเชื้อโดยไม่รู้ตัว

3. เทคโนโลยี Bluetooth พลังงานต่ำ สื่อสารเครื่องอื่นๆ ซึ่งกันและกัน โดยที่ต่างฝ่ายต่างไม่รู้ตัวตนของอีกฝ่าย

4. ตัวแอปจะบันทึกประวัติการเดินทางผ่าน GPS ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดูประวัติการเดินทางในขั้นตอนการสอบสวนโรค

5. สำหรับข้อมูลที่บันทึกเอาไว้ จะได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลฯ และจะมีการลบออกโดยอัตโนมัติเมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนด

ซึ่งแอปนี้ออกแบบให้ใช้งานง่าย ใช้ในการเฝ้าระวังและแจ้งระดับความเสี่ยงของผู้ใช้ ช่วยบันทีข้อมูลด้านสุขภาพอาการและข้อมูลการเดินทางจากการเช็คอินตามสถานที่ต่างๆ เพื่อยืนยันความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ โดยจะแสดงระดับความเสี่ยงของผู้ใช้เป็นสีดังนี้

สีเขียว หมายถึง ความเสี่ยงต่ำมาก สามารถใช้ชีวิตตามปกติ แต่ให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกรมควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด

สีเหลือง หมายถึง ความเสี่ยงต่ำ ใช้ชีวิตตามปกติ แต่ต้องระมัดระวัง และปฏิบัติตามข้อกำหนดของกรมควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด

สีส้ม หมายถึง ความเสี่ยงปานกลาง ให้กักตัวอยู่บ้านให้ครบ 14 วัน โดยเฝ้าระวังสำรวจอาการตนเอง หากมีอาการควรรีบไปโรงพยาบาลทันที

สีแดง หมายถึง ความเสี่ยงสูงมาก อาจเพราะมีอาการป่วย มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ หรือใกล้ชิดผู้มีความเสี่ยงในช่วง 14 วันที่ผ่านมา จะต้องรีบไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจโรคทันที

ไขข้อสงสัย ไทยชนะ VS หมอชนะ ต่างกันอย่างไร?

อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 แอปพลิเคชัน ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่มีประโยชน์กับตัวผู้ใช้งาน และสามารถอำนวยความสะดวกกับเจ้าหน้าที่ในการสกัดกั้นการแพร่เชื้อโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี และจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนควรจะมีไว้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเจ้าหน้าที่ในการป้องกันเชื้อร้ายไม่ให้แพร่กระจาย ให้ประเทศเรากลับมาปลอดภัยได้โดยเร็ว




เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง