TNN online สธ.เตรียมจัดสรรงบนำเข้าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในอนาคต

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

สธ.เตรียมจัดสรรงบนำเข้าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในอนาคต

สธ.เตรียมจัดสรรงบนำเข้าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในอนาคต

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยคืบหน้าวัคซีน จุฬาลงกรณ์ อยู่ระหว่างนำไปทดลองในสัตว์ใหญ่ หลังในขั้นตอนหนูทดลอง ได้ผลดี ขณะที่ ได้มีแผนเตรียมจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดหานำเข้าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไว้แล้ว

วันนี้ (20 พ.ค.63) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ตอนนี้สถานการณ์ในไทย จะคล้ายๆกับช่วงต้นที่มีการแพร่ระบาดในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ต่อจากนี้คือ ต้องตรวจจับสัญญาณการระบาดของโรคในระดับต้นๆ ให้ได้ โดยนำมาสู่ที่มาของนโยบาย ของ นายอนุทิน ชาญวีนกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข คือ การเฝ้าระวังในประชาชนที่เข้าข่ายสงสัยอย่างเต็มที่ ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ตั้งเป้าในการตรวจประชาชน 100,000 คน ที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วบางส่วนในหลายจังหวัด เช่น นครราชสีมา สุราษฎธานี ปัตตานี ซึ่งการตรวจเชิงรุกในพื้นที่ต้องมีการวางแผนกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน คาดว่าจะใช้ระยะเวลาไม่นาน โดยสิ่งที่ได้คือ ฐานข้อมูลที่จะนำไปสู่การจับสัญญาณของการระบาดโรคว่าเริ่มเมื่อไร

ทั้งนี้ ผลตรวจไม่ตรงกัน ก่อนหน้านี้ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ ย้ำ ผลตรวจจากห้องปฏิบัติการเป็นตัวเลขเป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะต้องร่วมกับการแปรผลอาการผู้ป่วย ข้อมูลการระบาดวิทยา ซึ่งหากผลไม่ตรงกัน ก็ต้องตรวจซ้ำเป็นเรื่องปกติ เพื่อให้ได้ผลที่ตรงกัน

"ตอนนี้ประเทศไทยตรวจเชื้อจากห้องปฏิบัติการไปแล้ว 328,000 ตัวอย่าง ร้อยละ 99 ผลตรวจแม่นย่ำ มีประสิทธิภาพ ซึ่งที่ผ่านมามีการตรวจตัวอย่างเชื้อเฉลี่ยต่อวัน 6,000 ตัวอย่าง แบ่งเป็นกลุ่มเข้าข่ายสอบสวนโรค PUI เพื่อวินิจฉัยโรค และ ผู้ป่วยกลุ่มทั่วไป" นพ.โอภาส กล่าว

ทั้งนี้ การตรวจเชื้อมากน้อย ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และข้อมูลการระบาดวิทยาของแต่ละประเทศ ซึงประเทศไทย จะยึดหลักว่าการดำเนินการมาตรการทุกอย่างต้องมีหลักฐานรองรับ มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ โดยจากการตรวจเชื้อปูพรหม ข้อมูลทางระบาดวิทยา พบว่า ประโยชน์ไม่มากนัก เนื่องจากต้องเสียทรัพยากรในการตรวจค่อนข้างมาก ซึ่งตรงกับข้อมูลในหลายประเทศ

ส่วนความก้าวหน้าเรื่องพัฒนาวัคซีน ตอนนี้ประเทศไทยเองมีหลายหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชน ที่วิจัยพัฒนาวัคซีน แต่ที่ก้าวหน้าเร็วสุด คือ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการทดลองในสัตว์ทดลอง คือ ในหนู พบว่า ภูมิคุ้มกันขึ้นค่อนข้างดี อยู่ระหว่างการทดสองในสัตว์ใหญ่ต่อไป

สำหรับความร่วมมือวิจัยของไทย ตอนนี้สถาบันวัคซีนแห่งชาติได้ทำข้อตกลงวิจัยร่วมกับประเทศจีน หากจีนมีวัคซีนแล้ว อาจจะต้องขอนำมาทดสอบวิจัยประสิทธิภาพในประเทศไทย ส่วนความสำเร็จในต่างประเทศ ตอนนี้มีหลายกระแสข่าวออกมาว่าปลายปีนี้อาจได้ใช้วัคซีนกัน ซึ่งไทยก็ได้จับตาดูอย่างใกล้ชิด และอาจจะต้องเตรียมจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดหานำเข้า

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง