TNN online อภ. ยืนยัน ยาฟาวิพิราเวียร์ เพียงพอรักษาผู้ป่วยโควิด-19 หากระบาดซ้ำสอง

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

อภ. ยืนยัน ยาฟาวิพิราเวียร์ เพียงพอรักษาผู้ป่วยโควิด-19 หากระบาดซ้ำสอง

อภ. ยืนยัน ยาฟาวิพิราเวียร์ เพียงพอรักษาผู้ป่วยโควิด-19 หากระบาดซ้ำสอง

กระทรวงสาธารณสุข ยืนยัน มียาฟาวิพิราเวียร์ เพียงพอในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 หากมีการระบาดรอบสอง พร้อมพัฒนาผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ใช้ในประเทศ คาดต้นปี 2565 สามารถผลิตได้

วันนี้ (19 พ.ค.63) ที่ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข นพ.อนุพงศ์ สุจริยกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค ระบุว่า วันนี้มีผู้ป่วยรายใหม่ 2 ราย พบที่ จังหวัดนราธิวาส โดยเป็นการติดเชื้อจากผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นการติดจากภานในครอบครัว โดยถือเป็นตัวเลขที่เจอบ่อยในผู้ป่วยโควิด-19 โดยพบว่า ร้อยละ 50 เป็นการติดเชื้อในครอบครัว ร้อยละ20 ติดในสถานที่ทำงาน ทำให้ยังคงต้องเน้นมาตรการระยะห่างทางสังคม การใส่หน้ากากอนามัย จึงเป็นสิ่งสำคัญ อยากให้ทุกคนคำนึงถึงว่ามีเชื้อโรคอยู่รอบตัวเรา ทำให้ยอดผู้ป่วยสะสมอยู่ที่ 3,033 ราย โดยคงเหลือรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 120 ราย 

อภ. ยืนยัน ยาฟาวิพิราเวียร์ เพียงพอรักษาผู้ป่วยโควิด-19 หากระบาดซ้ำสอง

ทั้งนี้ วันนี้เป็นวันที่ 2 หลังผ่อนปรนมาตรการระยะ 2 ขอให้ประชาชนตระหนักถึงการไปเดินห้าง หรือสถานที่แออัด หากหลีกเลี่ยงช่วงเวลา คนจำนวนมากได้ ให้หลีกเลี่ยงไปก่อน ถึงแม้ผู้ติดเชื้อจะมีเลขเป็นศูนย์ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีการติดเชื้อในชุมชน เนื่องจากผู้ป่วยอาจมีเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ

หลังจากคล้ายล็อก ระยะ 2 ได้มีภาพผู้ป่วยเดินทางไปรักษาที่โรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก ทางผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค ระบุว่า อยากให้เน้นการรักษาผู้ป่วย วิถีใหม่ไปก่อน หรือ new normal โดย ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อยากให้คงรับยาใกล้บ้านได้ เพื่อลดความแออัด 

อภ. ยืนยัน ยาฟาวิพิราเวียร์ เพียงพอรักษาผู้ป่วยโควิด-19 หากระบาดซ้ำสอง

ส่วนการการเช็กอินด้วยแอปพลิเคชั่น "ไทยชนะ" ในการไปเดินห้างจะเป็นส่วนสำคัญ และเป็นประโยชน์ในการค้นหาผู้ป่วย จากเจ้าหน้าที่ หากสถานที่ที่ท่านไปพบผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งจะทำให้ท่านง่ายต่อการติดตามตัว เข้าสู่การตรวจหาเชื้อได้ง่าย รวมถึงเพื่อตรวจสอบสถานที่ให้บริการว่ามีความหนาแน่นมากน้อยขนาดไหน

ทั้งนี้ ได้แนะนำประชาชนที่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างจังหวัด ให้ตรวจสอบปลายทางก่อน ว่าสถานการณ์เป็นเช่นไร และให้ตระหนักเสมอว่าการเดินทางมีความเสี่ยง ต้องป้องกันอย่างเข้มงวด

อภ. ยืนยัน ยาฟาวิพิราเวียร์ เพียงพอรักษาผู้ป่วยโควิด-19 หากระบาดซ้ำสอง

ขณะที่ ดร.ภญ.นันทกาญจน์ สุวรรณปิฏกกุล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ องค์การเภสัชกรรม ระบุถึง การจัดหายาในการรักษาผู้ป่วยโควิด19 ในไทย ทาง องค์การเภสัชได้มีการสำรอง ยา ทั้งหมด 7 รายการ ผลิตเอง 5 รายการ ซึ่งมียาที่ใช้ร่วมกัน 7 รายการ โดยองค์การเภสัชกรรมผลิตเอง 5 รายการ ประกอบด้วย

1. ยาคลอโรควิน รักษาโรคมาลาเรีย สำรองไว้ 1.8 ล้านเม็ด

2. ยาต้านไวรัสเอดส์สูตรผสม โลพินาเวียร์ และริโทรนาเวียร์ สำรองไว้ 30.6 ล้านเม็ด

3. ยาต้านไวรัสเอดส์ดารุนาเวียร์ สำรองไว้ 1.9 ล้านเม็ด

4. ยาต้านไวรัสเอดส์ริโทรนาเวียร์ สำรองไว้ 1.9 ล้านเม็ด

5. ยาอะซิโธรมัยซิน ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะใช้รักษาอาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย สำรองไว้ 3.4 ล้านเม็ด 

อภ. ยืนยัน ยาฟาวิพิราเวียร์ เพียงพอรักษาผู้ป่วยโควิด-19 หากระบาดซ้ำสอง

ส่วนยาอีก 2 รายการคือ "ยาไฮดรอกซีคลอโรควิน" ได้จัดซื้อจากผู้ผลิตในประเทศแล้ว 1.09 ล้านเม็ด และ "ยาฟาวิพิราเวียร์" โดยช่วงแรกที่มีการแพร่ระบาดโควิด-19 ประเทศไทย ได้มีการนำเข้า ยาฟาวิพิราเวียร์ไปแล้ว 187,000 เม็ด จากประเทศญี่ปุ่น และ ประเทศจีน โดยได้กระจายไปแล้วประมาณ 100,000 เม็ดให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ เหลือสำรองในคลังยา ขององค์การเภสัชกรร ประมาณ 87,000 เม็ด โดยจะส่งมอบเพิ่มเติม 300,000 เม็ด ในเดือนพฤษภาคม จากญี่ปุ่น และจากประเทศจีนอีก 200,000 เม็ด ซึ่งจะทำให้ไทยมีการใช้ยาได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาวกว่า 1 ปี หากมีการระบาดรอบ 2 ยืนยันเพียงพอ โดยคนไข้โควิด-19 จำนวน 1 คน แพทย์จะให้ยาฟาวิพิราเวียร์ ประมาณ 170 เม็ด ตลอดระยะการรักษา 

อภ. ยืนยัน ยาฟาวิพิราเวียร์ เพียงพอรักษาผู้ป่วยโควิด-19 หากระบาดซ้ำสอง

ขณะที่ องค์การเภสัชกรรม ได้มีแผนการวิจัยพัฒนายาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) เช่นเดียวกัน ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเข้าวัตถุดิบ เพื่อนำมาผลิตยาเม็ด โดยมีขั้นตอนต่างๆ เช่น พัฒนาสูตรตำรับ การขยายขนาดการผลิต เป็นระดับกิ่งอุตสาหกรรม ตั้งเป้าผลิตต้นปี 2564 นอกจากนี้ยังได้ ทำการสังเคราะห์วัตถุดิบ ฟาวิพิลาเวียร์ ร่วมกับ ไบโอเทค ประมาณ 3-6 เดือน คาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี จากนั้นจะนำยาที่ผลิต ทดลองในอาสาสมัครที่สุขภาพดี ซึ่งจะทำการเปรียบเทียบยาฟาวิพิราเวียร์จากประเทศญี่ปุ่น และ ยาที่องค์การเภสัชกรรมผลิตขึ้น โดยต้นปี 2565 คาดว่าจะสามารถผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ในประเทศไทยได้

ส่วนการคืบหน้าวัคซีน ดร.ภญ.นันทกาญจน์ สุวรรณปิฏกกุล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ องค์การเภสัชกรรม ระบุว่า ทั่วโลกได้มีการพัฒนาหลายประเทศ ไทยเองก็ได้มีหลายหน่วยงาน ที่ได้มีการศึกษาในสัตว์ทดลอง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวทิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย สถาบันวัคซีนแห่งชาติ มีการพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีความพร้อมในการผลิตวัคซีนแล้ว เบื้องต้นจะเป็นในลักษณะซื้อวัคซีนต้นแบบจากต่างประเทศมาพัฒนาต่อคาดจะใช้เวลาสักระยะ 

อภ. ยืนยัน ยาฟาวิพิราเวียร์ เพียงพอรักษาผู้ป่วยโควิด-19 หากระบาดซ้ำสอง

ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค อธิบายเพิ่มเติม ว่า วัคซีนต้องใช้ระยะเวลา ซึ่งต้องคัดเลือกชนิดของวัคซีนต้นแบบ จากนั้นทดลองในสัตว์ทดลอง หากระยะนี้ผ่าน ถึงจะไปสู่ระยะคลินิกในคนได้ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะ 1 ทดลองในจำนวนคนน้อย เป็นอาสาสมัครประมาณ 10 คน เมื่อเข้าสู่ระยะ 2 จะทดลองในอาสาสมัครหลัก 100 เมื่อเฉีดแล้วร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหรือไม่ ระยะ 3 นำไปทดสอบกับอาสาสมัครจำนวนคนมากๆ เพื่อนำไปสู่การผลิตวัคซีน ปกติกแล้วจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี 18 เดือน

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง