TNN online วิจัยชี้! โรคอ้วน-เบาหวาน โอกาสตายสูงจากโควิด-19

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

วิจัยชี้! โรคอ้วน-เบาหวาน โอกาสตายสูงจากโควิด-19

วิจัยชี้! โรคอ้วน-เบาหวาน โอกาสตายสูงจากโควิด-19

ทางการจีนเผยข้อมูลวิจัย คนป่วยโรคอ้วน-เบาหวาน มีโอกาสเสียชีวิตสูงจากโรคโควิด-19 เพราะมี 3 ปัจจัยช่วยกระตุ้น

วันนี้ ( 13 เม.ย. 63 )ทางการจีนเปิดเผยว่า จำนวนผู้ป่วยมากกว่า 72,000 ราย พบว่า อายุผู้ป่วยที่พบบ่อย จะอยู่ระหว่าง 30 ถึง 79 ปีคิดเป็นร้อยละเกือบ 90 โดยอัตราการเสียชีวิตส่วนใหญ่จะมีโรคอื่นอยู่ด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง ร้ยละ 39.7 เบาหวาน ร้อยละ 19.7 โรคหัวใจ ร้อยละ 22.7  โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ร้อยละ 7.9 โรคมะเร็ง ร้อยละ 1.5  นักวิจัยจึงพบว่าโรคอ้วนและเบาหวานที่เสี่ยงเสียชีวิตสูง เนื่องจากพบว่า มี 3 ปัจจัยเข้ามาช่วยกระตุ้นให้ไวรัสโคโรน่า เข้าโจมตีร่างกายผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น 


งานวิจัยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 (ที่ทำให้เป็นโรค โควิด19) กับโรคอ้วน พบว่า ผู้ที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์โรคอ้วน (วัดจากค่า BMI >30) มีโอกาสมากขึ้นที่เมื่อเป็นโรค COVID19 แล้ว ต้องอาศัยการช่วยหายใจแบบ invasive (เช่น ใช้ท่อสอดช่วยหายใจ)


ผู้วิจัยเสนอมุมมองถึง3สาเหตุที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงในการเข้า รพ. และเสียชีวิตจากโรค โควิด19 ดังนี้ 

1. มี ระดับเอมไซม์โปรตีน ACE2 receptors ที่สูงขึ้น (ซึ่งเป็นเป้าหมายของโคโรนาไวรัส) ในปอด หัวใจ ไต ตับอ่อน 


2. มีระดับ Furin (ฟูริน) ที่สูงขึ้น ทำให้ไวรัสเข้าร่างกายง่าย  Furin นี้มีอยู่ในเซลล์หลากหลายชนิดในร่างกาย เช่น ปอด ลำไส้เล็ก ตับ ฯลฯ นั่นทำให้นักวิจัยอธิบายว่า มันจึงมีโอกาสติดได้ง่ายกว่าเชื้ออื่น และพอติดแล้วจึงเกิดภาวะการทำงานล้มเหลวของหลายอวัยวะ เช่น ตับวาย ดังที่เห็นในเคสรุนแรงได้

 3.ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน


ดังนั้น กุญแจสำคัญที่ทำให้ไวรัสโควิด แพร่เชื้อได้ คือ เอนไซม์โปรตีนตัวรับชนิด ACE-2  ปัญหาคือมันแสดงให้เห็นว่าคนที่มีปริมาณการแสดงออกของโปรตีนตัวรับชนิดนี้เยอะก็ " อาจจะ " ติดเชื้อได้รวดเร็วกว่าคนที่มีโปรตีนชนิดนี้น้อยกว่า ซึ่งคนป่วยเบาหวานและโรคอ้วนจะมีโปรตีนชนิดนี้สูงมาก


โดยไวรัสที่จับกับ ACE-2 เข้าไปที่ทำให้ผนังของหลอดเลือดจะบางลงปล่อยให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันชนิดต่างๆเข้ามาในถุงลม กระบวนการดังกล่าวยังส่งผลให้ น้ำจากกระแสเลือด ไหลเข้ามาในถุงลมได้เช่นกัน นั่นจะเป็นสาเหตุเริ่มต้นของอาการปอดบวม น้ำที่เข้ามาในถุงลมจะส่งผลให้การแลกเปลี่ยนก๊าซยากขึ้นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของการหายใจติดขัด หอบ เหนื่อย


เป้าหมายหลักของไวรัสโคโรน่าจะเข้ามาจับเอนไซม์โปรตีนตัวรับชนิด ACE-2 ในการเจาะเข้าสู่เซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนอนุภาคในเซลล์ปอด และ ออกมาติดเซลล์ข้างเคียงต่อไปเรื่อยๆ  ซึ่งไวรัสนี้จะจับกับตัวรับนี้แน่นกว่าไวรัส SARS ถึง 10 เท่า ทำให้เห็นการติดเชื้อได้ง่ายและแพร่กันอย่างรวดเร็ว


นอกจากนี้แล้วโปรตีนตัวรับชนิด ACE-2 receptor ยังพบการแสดงออกสูงในเซลล์ลำไส้เช่นกัน นี้จึงเป็นเหตุผลเช่นกันว่าผู้ป่วยเคสแรกๆที่ตรวจพบโรคมักพบอาการปอดอักเสบร่วมกับท้องเสียอย่างรุนแรง


ดังนั้นกลไกวิธีการเข้าโจมตีของไวรัสโควิด ทำให้ทราบว่ากุญแจที่นำไปสู่การวิจัยคิดค้นยาและวัคซีนเพื่อจัดการกับโรค COVID-19 คือการ ป้องกันไม่ให้ ไวรัส มาเจอกับ เอนไซม์โปรตีน(ACE2)เพื่อไม่ให้ทะลุเข้าทำร้ายเซลล์ ด้วยการใช้ยาหรือสร้างวัคซีนให้มีการสร้างแอนติบอดี้มาขัดขวาง ซึ่งมีรายงานว่าบริษัทยาของสหรัฐใกล้คิดค้นยาหรือวัคซีนนี้สำเร็จในไม่ช้า


เกาะติดข่าวที่นี่ 

website: www.TNNThailand.com  

facebook : TNNThailand 

twitter : @TNNThailand 

Line : @TNNThailand 

Youtube Official : TNNThailand

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง