TNN online ผลศึกษาฉีด "LAAB" ในระยะเวลา 6 เดือนป้องกันโควิดแบบมีอาการได้ 82.8%

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

ผลศึกษาฉีด "LAAB" ในระยะเวลา 6 เดือนป้องกันโควิดแบบมีอาการได้ 82.8%

ผลศึกษาฉีด LAAB ในระยะเวลา 6 เดือนป้องกันโควิดแบบมีอาการได้ 82.8%

สธ.จัดกิจกรรมปกป้องกลุ่มเปราะบาง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ให้บริการฉีด "LAAB" เชิงรุกในผู้สูงอายุ ผลศึกษาพบสามารถป้องกันโรคโควิดแบบมีอาการได้ถึง ร้อยละ 82.8

สธ.จัดกิจกรรมปกป้องกลุ่มเปราะบาง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ให้บริการฉีด "LAAB" เชิงรุกในผู้สูงอายุ ผลศึกษาพบสามารถป้องกันโรคโควิดแบบมีอาการได้ถึง ร้อยละ 82.8


ที่ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เดอะ ซีนิเซ่นส์ กรุงเทพมหานคร นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดกิจกรรม “ปกป้องกลุ่มเปราะบาง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน” รณรงค์สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโควิด 19 ด้วยการฉีดภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) เชิงรุกให้กับผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะป่วยอาการหนักและเสียชีวิต โดยมี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารสมาคมการค้าและการบริการสุขภาพ และผู้บริหารศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เดอะ ซีนิเซ่นส์ ร่วมงาน


นายอนุทิน กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้ความสำคัญในการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุ ด้วยการส่งเสริม “สุขภาพ” เพิ่ม “ความสุข” ให้ผู้สูงอายุมีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณภาพ โดยประกาศให้เป็น “ปีแห่งสุขภาพสูงวัยไทย” ซึ่งกิจกรรม “ปกป้องกลุ่มเปราะบาง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน” โดยการจัดบริการฉีดภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) ให้กับผู้สูงอายุในสถานดูแลผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุที่เข้ารับการบริการที่สถานพยาบาล เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโควิด 19 เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ตอบสนองต่อวัคซีนได้น้อยกว่าคนทั่วไป การให้วัคซีนปกติอาจทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ไม่เพียงพอ และยังต้องใช้เวลาในการสร้างภูมิคุ้มกันนานประมาณ 14 วัน แต่หากได้รับ LAAB ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันที่ใช้ต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ทันที และยังพบผลข้างเคียงน้อยมาก 


รวมถึงมีผลการศึกษาพบว่าในระยะเวลา 6 เดือนสามารถป้องกันโรคโควิดแบบมีอาการได้ถึง ร้อยละ 82.8 และสามารถยับยั้งเชื้อโอมิครอน BA2.75 ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักที่กำลังระบาดในประเทศไทยได้ ในวันนี้เป็นกิจกรรมที่ดีมีประโยชน์มากถือเป็นจุดเริ่มต้นการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้กับผู้สูงอายุในศูนย์สุขภาพผู้สูงอายุ และจะขยายผลไปยังศูนย์สุขภาพฯ ทั่วประเทศ จึงขอให้ทุกจังหวัดประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรณรงค์บริการฉีด LAAB ในผู้สูงอายุทั้งในสถานดูแลผู้สูงอายุ และโรงพยาบาล


นายแพทย์โอภาส กล่าวว่า กว่า 2 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ให้บริการวัคซีนโควิด 19 แก่ประชาชนแล้วกว่า 146 ล้านโดส โดยในกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะป่วยอาการหนักและเสียชีวิตประมาณ 12.7 ล้านคนทั่วประเทศ พบว่า ได้รับวัคซีน 2 เข็มแล้ว 10.2 ล้านคน (ร้อยละ 80) และได้รับเข็มที่ 3 แล้ว 5.6 ล้านคน (ร้อยละ 44) ส่วนการฉีด LAAB 


ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 มีกลุ่มเปราะบางที่ได้รับ LAAB จำนวน 57,000 ราย ในจำนวนนี้เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 25,000 ราย ทั้งนี้ ยังมีกลุ่มเป้าหมายอีกจำนวนมากที่จำเป็นต้องได้รับ LAAB เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโควิด 19 กระทรวงสาธารณสุขจึงเพิ่มการเข้าถึงบริการ LAAB ด้วยแนวทาง “เข้าเกณฑ์ฉีด ควรรับฟังเพื่อตัดสินใจ หรือ Encouraging Decision” โดยให้บุคลากรทางการแพทย์ชี้แจงข้อมูล และเปิดโอกาสกลุ่มเสี่ยงได้ซักถามเพื่อสร้างความมั่นใจก่อนตัดสินใจลงนามฉีด LAAB ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยบริการหลายแห่งให้บริการฉีด LAAB ในผู้สูงอายุแล้ว เช่น เขตสุขภาพที่ 3 และ 4 โรงพยาบาลราชวิถี เป็นต้น


สำหรับกลุ่มเป้าหมายหลักที่จำเป็นต้องสร้างเสริมภูมิคุ้มกันด้วย LAAB ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปและผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง (กลุ่ม 607) ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ที่ปลูกถ่ายอวัยวะ, ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง, ผู้ป่วยโรคมะเร็ง, ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน, ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องฟอกไต รวมถึงผู้เป็นกลุ่มเสี่ยงตามเกณฑ์ที่มีภูมิคุ้มกันตํ่าหรือตามดุลพินิจของแพทย์




ที่มา กระทรวงสาธารณสุข

ภาพจาก สธ./TNN Online

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง