TNN online ศูนย์จีโนมฯ เปิดข้อมูลโควิด-19 จากจีนจะระบาดเข้ามาสู่ประเทศไทยได้หรือไม่?

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

ศูนย์จีโนมฯ เปิดข้อมูลโควิด-19 จากจีนจะระบาดเข้ามาสู่ประเทศไทยได้หรือไม่?

ศูนย์จีโนมฯ เปิดข้อมูลโควิด-19 จากจีนจะระบาดเข้ามาสู่ประเทศไทยได้หรือไม่?

"จีนเปิดประเทศ" ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เปิดข้อมูลโควิด-19 จากจีนจะระบาดเข้ามาสู่ประเทศไทยได้หรือไม่?

"จีนเปิดประเทศ" ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เปิดข้อมูลโควิด-19 จากจีนจะระบาดเข้ามาสู่ประเทศไทยได้หรือไม่?  ไม่ง่ายที่ไวรัส BA.5.2 และ BF.7 จากจีนจะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์หลัก BA.2.75 ในประเทศไทยได้

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุว่า ไวรัสโคโรนา 2019 จากจีนจะระบาดเข้ามาสู่ประเทศไทยได้หรือไม่?

- ทางการอิตาลีแถลงตรวจไม่พบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่จากผู้โดยสารเที่ยวบินจากจีนเข้าอิตาลีเมื่อวันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม 2565

- ศูนย์จีโนมฯ รพ. รามา ยังตรวจไม่พบโอมิครอนสายพันธุ์ที่น่ากังวล (variant of concern) ซึ่งหมุนเวียนแพร่กระจายในประเทศไทยที่แตกต่างไปจากสายพันธุ์ที่กำลังระบาดในประเทศจีน 

ทางการอิตาลีได้ทำการถอดรหัสพันธุกรรมไม่พบโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่มีการกลายพันธุ์จาก “บรรดาผู้ที่เดินทางจากจีนมาถึงอิตาลีเมื่อต้นสัปดาห์และมีผลการตรวจไวรัสโควิด-19 (ด้วย ATK และ PCR) จากไม้กวาดคอเป็นบวก” สร้างความโล่งใจให้กับบรรดาเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามด้านสุขภาพที่เพิ่งเกิดขึ้นของอิตาลี โดยผู้โดยสารส่วนใหญ่ที่มากับสองเที่ยวบินจากจีนไม่มีอาการโควิด

นายกรัฐมนตรี “จอร์เจีย เมโลนี” ของอิตาลีกล่าวว่าทางการในลอมบาร์เดียได้ทำการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัส “เพราะเราจำเป็นต้องรู้ว่าโควิด-19 ที่กำลังจะมาเยือนอิตาลีนั้นเป็นสายพันธุ์ที่เราเคยเห็นหรือรู้จักมาก่อนหรือไม่  และวัคซีนที่เราฉีดและยาต้านไวรัสที่เราเตรียมไว้ให้กับประชาชน(อิตาลี) สามารถป้องกันครอบคลุมบรรดาสายพันธุ์เหล่านี้ได้หรือไม่

“จาก 30 ตัวอย่างที่เรากำลังถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโควิดทั้งจีโนม  ผลจาก 15 คนแรกออกมาเป็นโอมิครอนสายพันธุ์ที่มีการระบาดอยู่แล้วในอิตาลี” เธอกล่าวอย่างมั่นใจในงานแถลงข่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่า “สถานการณ์ (การระบาดของโควิดจากผู้เดินจากจีนที่เข้ามา) ในอิตาลีอยู่ภายใต้การควบคุม และไม่น่าความกังวลใจใดในช่วงนี้”

ทางศูนย์จีโนมฯ รพ. รามาธิบดี กำลังรอข้อมูลจากทางการอิตาลีที่จะอัปโหลดขึ้นบนฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” เพื่อจะสามารถระบุรายละเอียดได้ว่าเป็นโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยใดบ้างเพื่อไปเทียบเคียงกับสายพันธุ์ที่กำลังระบาดในประเทศไทย

ในเยอรมนี กระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่ายังตรวจไม่พบสายพันธุ์โอมิครอนที่น่ากังวล (variant of concern) ที่กำลังแพร่กระจายอยู่ในเยอรมนีแต่แตกต่างไปจากสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศจีน 

สำหรับประเทศไทยหากเป็นไปตามที่ทางการจีนแถลงต่อสื่อมวลชนมื่อต้นสัปดาห์ว่าสายพันธุ์โอมิครอนที่กำลังระบาดในจีนคือ BA.5.2 และ BF.7  อาจจะลดความกังวลลงได้บ้างเพราะทางศูนย์จีโนมฯ รพ. รามาธิบดีได้ตรวจสอบทั้งสองสายพันธุ์ดังกล่าวพบว่า มีระบาดอยู่แล้วในประเทศไทย แต่ระบาดสู้สายพันธุ์หลักคือ BA.2.75 ไม่ได้

จากการคำนวณอาศัยรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมที่ไทยเราช่วยกันถอดรหัสในช่วงเวลา 3 เดือนที่ผ่านมาพบว่า 

- BA.2.75 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) (ในประเทศไทย) สูงกว่า BA.5.2  ประมาณ 63%  และ

- BA.2.75 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) ในประเทศไทยสูงกว่า BF.7  ประมาณ 9%

ดังนั้นไม่ง่ายนักที่ BA.5.2 และ BF.7 จากจีนจะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์หลัก BA.2.75 ในประเทศไทยได้ในขณะนี้ ซึ่งจะสอดคล้องกับการประเมินของสหภาพยุโรป (European Union- EU) 

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 ธ.ค. 2565 เช่นกันศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งยุโรป (ECDC) ได้ระบุว่า การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ในจีนคาดว่าเป็นผลมาจากภูมิคุ้มกันโดยรวมที่ต่ำบวกกับการผ่อนคลายมาตรการเมื่อไม่นานมานี้ แต่ภูมิคุ้มกันโดยร่วมใน EU สูงกว่า หมายความว่า การระบาดเพิ่มจำนวนของโควิดในจีนจะไม่ส่งผลกระทบต่อ EU 

นอกจากนี้สายพันธุ์ของโควิด-19 ที่กำลังหมุนเวียนในจีน มีหมุนเวียนใน EU อยู่ก่อนแล้ว ความเป็นไปได้ที่ผู้ติดเชื้อจากจีนจะนำโควิดมาแพร่ใน EU ถือว่าต่ำ เมื่อเทียบกับจำนวนการติดเชื้อที่กำลังเกิดขึ้นใน EU ตอนนี้ และพลเมืองใน EU มีอัตราการฉีดวัคซีนและมีภูมิคุ้มกันแบบผสม (ทั้งจากวัคซีนและการติดเชื้อตามธรรมชาติ) ค่อนข้างสูงอยู่แล้ว




ข้อมูลจาก ศูนย์จีโนมทางการแพทย์

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง