TNN online วัคซีนโควิดเข็ม 5 ใครบ้างควรฉีด? ผู้ที่ติดเชื้อแล้วควรฉีดอีกไหม

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

วัคซีนโควิดเข็ม 5 ใครบ้างควรฉีด? ผู้ที่ติดเชื้อแล้วควรฉีดอีกไหม

วัคซีนโควิดเข็ม 5 ใครบ้างควรฉีด? ผู้ที่ติดเชื้อแล้วควรฉีดอีกไหม

"หมอยง" เผยปัญหาที่ถูกถามบ่อย เมื่อฉีดวัคซีนโควิด-19 ตอบชัดแนวทางการฉีดวัคซีน ใครบ้างควรได้รับเข็มที่ 5 และ ถ้าผู้ที่ติดเชื้อแล้วจะฉีดวัคซีนอีกไหม

"หมอยง" เผยปัญหาที่ถูกถามบ่อย เมื่อฉีดวัคซีนโควิด-19 ตอบชัดแนวทางการฉีดวัคซีน ใครบ้างควรได้รับเข็มที่ 5 และ ถ้าผู้ที่ติดเชื้อแล้วจะฉีดวัคซีนอีกไหม


วันนี้( 19 ธ.ค.65) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความในหัวข้อ โควิด-19


โดยระบุว่า "โควิด 19 ปัญหาที่ถูกถามบ่อย เรื่องการฉีดวัคซิน โควิด 19 ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต 19 ธันวาคม 2565

เมื่อฉีดวัคซีนแล้ว 3 เข็ม  4 เข็ม หรือ 5 เข็ม แล้วจะต้องฉีดวัคซีน covid-19 อีกไหม ??

คำว่า ฉีดวัคซีนมาแล้วจำนวนเข็มให้นับรวมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดใด ถึงแม้ว่าจะเป็นวัคซีนเชื้อตาย  ของจีน ก็ให้นับรวมด้วย วัคซีนทุกชนิดที่ฉีดไม่แตกต่างกัน สามารถให้ข้ามชนิดกันได้อยากให้ทุกคนได้รับวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็ม และเมื่อให้มานานแล้วเกิน 4 เดือนขึ้นไป จะให้เข็ม 4 ก็ไม่ว่ากัน

ในรายที่ได้ 4 เข็มมาแล้ว จะให้เข็มต่อไปขอให้พิจารณาดังนี้ ถ้าร่างกายแข็งแรงปกติดี อายุน้อย เช่นน้อยกว่า 60 ปี ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้เพิ่มอีก ถึงแม้ว่าจะติดโรค ความรุนแรงของโรคก็จะน้อยมาก

การจะให้ต่อไปใน เข็มที่ 5 เราจะคำนึงในการให้ดังนี้

1. ในผู้ที่มีร่างกายเปราะบางและอ่อนแอมากๆ ผู้สูงอายุมากๆ โรคเรื้อรัง  เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคทางปอดและหัวใจ รวมทั้งโรคสมอง ผู้ป่วยติดเตียงควรจะได้รับวัคซีนต่อไป ถ้าให้วัคซีนเข็มที่ 4 มานานแล้วเกิน 6 เดือน ก็สามารถกระตุ้นเข็มต่อไปได้ 

2. การให้วัคซีนเข็มที่ 5 ขอให้พิจารณาสภาวะร่างกายของเรา ถ้าเราแข็งแรงดี ก็ไม่จำเป็น แต่ถ้าร่างกายอ่อนแอมากๆ ดังได้กล่าวมาแล้วก็ควรจะมีการกระตุ้น

3. ในกรณีที่ได้วัคซีนมาแล้ว 3-4 เข็มหรือมากกว่า แล้วเกิดการติดเชื้อ การติดเชื้อนั้น ถือว่าเป็นการฉีดวัคซีนอีก 1 เข็มโดยธรรมชาติ ดังนั้นผู้ที่ติดเชื้อแล้ว ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นเป็นภูมิต้านทานแบบลูกผสม ที่มีประสิทธิภาพสูง

ผู้ที่ติดเชื้อแล้ว จะฉีดวัคซีนอีกไหม เราจะปฏิบัติดังนี้

1. ถ้าไม่เคยฉีดวัคซีนมาเลย แล้วติดเชื้อ จะแนะนำให้ฉีดวัคซีนต่อไป โดยเข็มแรกให้ห่างจากการติดเชื้อประมาณ 2 - 3 เดือน แล้วฉีดเข็มที่ 2 ที่ห่างจากการติดเชื้อ 6-12 เดือนก็จะได้ภูมิคุ้มกันที่สมบูรณ์

2. ถ้าฉีดวัคซีนมาแล้ว 1 เข็มแล้วติดเชื้อ ให้ฉีดวัคซีนเข็มต่อไปห่างจากการติดเชื้อประมาณ 3 ถึง 6 เดือน ถือว่าได้รับ 3 เข็ม(การติดเชื้อนั้น ถือว่าเป็นการฉีดวัคซีนอีก 1 เข็มโดยธรรมชาติ)   ให้นับรวมการติดเชื้อเป็นการฉีดโดยธรรมชาติ 1 เข็ม และถ้าจะฉีดเข็มต่อไปก็ควรห่างอย่างน้อยอีก  4 - 6 เดือน โดยหลักการยิ่งห่างยิ่งดี

3. ถ้าได้รับวัคซีนมาแล้ว 2 เข็ม แล้วติดเชื้อก็ถือว่าได้รับวัคซีนมาแล้ว 3 เข็ม (ธรรมชาติฉีดให้เรา 1 เข็ม) ถ้าจะฉีดวัคซีน เพิ่มอีก 1 เข็ม ควรจะห่างจากการติดเชื้อ 6 เดือน แต่ถ้าเราเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงมากๆ จะกระตุ้นที่ 4 เดือนก็ได้

4. ถ้าได้รับวัคซีนมาแล้ว 3 เข็มขึ้นไป แล้วติดเชื้อ ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจะเป็นภูมิต้านทานที่มีระดับสูงมากในคนที่แข็งแรงดี ไม่จำเป็นที่จะต้องกระตุ้น ยกเว้นกลุ่มเสี่ยงสูงที่มีร่างกายอ่อนแอมากๆ ถ้าจะกระตุ้นก็ควรห่างจากการติดเชื้อไปอย่างน้อย 6 เดือน

หลักการทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว จะไม่ใช้ในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี เพราะการให้ mRNA วัคซีน ในเด็ก ผลข้างเคียง ระยะสั้นและระยะยาวจะเป็นสิ่งที่จะต้องคำนึงถึง

ในเด็กที่แข็งแรงดี ให้ฉีดวัคซีนตามกำหนดเท่านั้น และถ้ามีการติดเชื้อ ก็ถือว่าเป็นการได้รับภูมิต้านทานแบบสมบูรณ์ ลูกผสม ที่มีภูมิต้านทานที่ดีมาก เราจะไม่ให้เข็ม 4 กับ 5 ในเด็ก

การจะฉีดวัคซีนกระตุ้น อีกสิ่งหนึ่งที่จะต้องคำนึงถึงคือการระบาดของโรค ถ้าเอาระบาดมาก ความเสี่ยงของเราก็สูง  ก็ควรได้รับการกระตุ้น เช่นในช่วงนี้ การระบาดอยู่ในขาขึ้น และถ้าหลังกุมภาพันธ์ไปแล้วอยู่ในขาลงก็จะอยู่ในภาวะที่รอได้ โดยจะมีการระบาดอีกครั้งหนึ่งในเดือนมิถุนายนเมื่อถึงตอนนั้นค่อยพิจารณาเรื่องการฉีดวัคซีนอีกครั้งหนึ่ง ตามฤดูกาลแบบไข้หวัดใหญ่ 

ขอย้ำอีกทีการนับจำนวนเข็มการฉีดวัคซีน ไม่แยกชนิดของวัคซีน ไม่ว่าจะฉีดวัคซีนอะไรมาก็ขอให้นับจำนวนเข็มทั้งหมด





ภาพจาก สธ. / TNN Online

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง