TNN online กันหนัก กันเสียชีวิตจาก "โควิด-19" หมอธีระวัฒน์ แนะทำสิ่งนี้?

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

กันหนัก กันเสียชีวิตจาก "โควิด-19" หมอธีระวัฒน์ แนะทำสิ่งนี้?

กันหนัก กันเสียชีวิตจาก โควิด-19 หมอธีระวัฒน์ แนะทำสิ่งนี้?

โควิดระบาด! หมอธีระวัฒน์แนะทำสิ่งนี้? กันหนัก กันเสียชีวิต เผยการติดเชื้อตามธรรมชาติ ลดหนัก ลดตายได้มหาศาล แม้จะติดใหม่ได้

วันนี้( 28 พ.ย.65) หลังจากโควิด-19 เหมือนจะกลับมาระบาดอีกครั้งในช่วงนี้ ซึ่งกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รายงานสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 20 - 26 พฤศจิกายน 2565

ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) จำนวน 4,914 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 702 ราย/วัน ผู้เสียชีวิต (รายสัปดาห์) จำนวน 74 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 10 ราย/วัน

หายป่วยสะสม 2,483,809 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) เสียชีวิตสะสม 11,482 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)


ท่ามกลางประชาชนติดโควิด-19 กันอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หรือ “หมอธีระวัฒน์” ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเกี่ยวกับโควิด-19 ซึ่งเป็นวิธีป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิต โดยระบุว่า

"กันหนัก กันเสียชีวิตจาก

-วัคซีนไม่ใช่ที่พึ่งอย่างเดียว

-ยาไม่ใช่ที่พึ่งอย่างเดียว

-ประการสำคัญที่สุด สุขภาพต้องแข็งแรงที่สุด เข้าใกล้มังสวิรัติ กินปลา ลดเนื้อสัตว์ ลดแป้ง เดิน 10,000 ก้าว ออกแดด วินัยตามสถานการณ์"


กันหนัก กันเสียชีวิตจาก โควิด-19 หมอธีระวัฒน์ แนะทำสิ่งนี้? ภาพจาก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha

 


นอกจากนี้ ยังเผยอีกว่า ติดเชื้อโควิด “ ตามธรรมชาติ”ลดหนัก ลดตายได้มหาศาล แม้จะติดใหม่ได้ แต่ไม่ใช่เอาตัวเข้าไปติดนะ หมายถึงพลาดท่าติดไปแล้ว หมอดื้อ 21/11/65 และ24/11/65

ความสำคัญของการติดเชื้อตามธรรมชาติคือการ สร้างเกราะป้องกัน สำหรับเชื้อที่จะเข้ามาใหม่ แม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างหน้าตาหรือสายพันธุ์ไปแล้วก็ตาม

แต่ทั้งนี้เกราะป้องกันที่ว่า อาจจะไม่เก่งในเรื่องของการกันการติดเชื้อใหม่ (reinfection) แต่ลดอาการหนักและการตายได้

แม้ว่า จะมีรายงานก่อนหน้าในทหารที่ปลดประจำการของสหรัฐที่พบว่า ถ้ามีการติดเชื้อใหม่ หนึ่งครั้ง สองครั้ง จนกระทั่งถึงสามครั้งหรือมากกว่า จะเพิ่มความเสี่ยงของการที่ต้องเข้าโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตหรือกลายเป็นมีโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะที่กระทบกับหัวใจเส้นเลือด ปอด เป็นต้น แต่ทั้งนี้ ประชากรดังกล่าว อาจจะไม่สามารถนำมาเป็นบรรทัดฐานที่จะอธิบายคนทั่วไปได้

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการรักษาสุขภาพโดยรวมด้วย ซึ่งจะเพิ่มพูนประสิทธิภาพของเกราะป้องกันนี้ร่วมกับที่ได้จากการติดเชื้อตามธรรมชาติแล้ว (และเป็นไปได้ว่าสามารถที่จะลดหรือบรรเทาอาการที่จะเกิดขึ้นจากลองโควิด)

ดัง รายงานในวารสาร Eur J Clin Invest 11 พฤศจิกายน 2022 และ 8 สิงหาคม 2022 ที่เป็นการวิเคราะห์จากรายงานต่างๆ รวมทั้ง meta-analysis


การติดเชื้อตามธรรมชาติ

Natural infection ทำให้มี ความบกพร่องในการฟอร์ม germinal center ( failure of germinal center formation )แต่ก็ยังมีภูมิคุ้มกัน ที่สร้างจาก ระบบที่ไม่ใช้กระบวนการที่เรารู้จักกันหรือเป็น extranodal “กลับมาช่วยป้องกันได้ดีกว่า” ไม่ก็อาจยังคงเป็น nodal แต่ผ่านกลไกอื่น ในขณะที่ immunity จาก vaccination ผ่าน germinal center, Tfh development ตามกลไกปกติทั่วไป


ดังนั้นกล่าวโดยสรุป:

ในคนที่ติดเชื้อตามธรรมชาติไปแล้ว จะยังคงมีทหารคอยปกป้องร่างกายอยู่ตลอด แม้ว่าป้องกันการติดเชื้อใหม่ได้ไม่ดีแต่ ลดอาการหนักและการตายได้

ทั้งนี้ โดยอธิบายได้จากกลไกวิทยาศาสตร์ รวมกระทั่งถึงการติดตามรายงาน จากทั่วโลก ที่เป็น หลักฐานเชิงประจักษ์ทั้งหมด

นอกจากนั้น คณะผู้วิจัยอีกคณะจาก Columbia University’s Aaron Diamond AIDS research center จากการศึกษา พบว่า

คนที่เคยติดเชื้อโอไมครอน BA.2, BA.4. หรือ BA.5 ดูจะมีภาษีดี ถ้าเจอต่อ BQ.1 และ BQ.1.1 

โดยเฉพาะคนที่ติด BA.4/5 ที่ยังคงความดีไว้ ต่อสายพันธุ์ย่อยทั้งหลาย เมื่อเปรียบเทียบกับ 3 เข็ม บวก กระตุ้นด้วยวัคซีนโอไมครอนใหม่

และ คนที่ได้สามเข็มและกระตุ้นด้วยวัคซีนใหม่โอไมครอนจะดีกว่า เล็กน้อยเมื่อเทียบกับ คนที่ได้รับสามเข็มธรรมดา ต่อ XBB และ XBB.1

อย่างไรก็ตาม ในบทความนี้ได้อ้างถึงว่า ผู้เชี่ยวชาญทางสาธารณสุข ยังคิดว่าวัคซีน กระตุ้นชนิดใหม่ โอไมครอน แม้ว่าฤทธ์ ที่ได้จะไม่เก่งนักและระยะเวลาที่ได้ผลจะหดลงสั้นมากก็ตาม แต่ควรที่จะลดความรุนแรงจากโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยใหม่ได้ และตามที่ US CDC แสดงผลว่า relative effectiveness ในการลดอาการดีขึ้นเมื่อได้ วัคซีน โอไมครอนใหม่

สำหรับหมอเองติดโอไมครอน BA.4.1 ไปแล้วคงไม่ฉีดต่อ (ดีใจ ดีงาม)






ที่มา ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha

ภาพจาก AFP/รอยเตอร์

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง