TNN online "โอมิครอน"ที่ตรวจพบในไทย ควรรักษาด้วยยาแอนติบอดีสำเร็จรูปประเภทใด?

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

"โอมิครอน"ที่ตรวจพบในไทย ควรรักษาด้วยยาแอนติบอดีสำเร็จรูปประเภทใด?

โอมิครอนที่ตรวจพบในไทย ควรรักษาด้วยยาแอนติบอดีสำเร็จรูปประเภทใด?

ศูนย์จีโนมฯ เผยข้อมูล "โอมิครอน" ที่ตรวจพบในไทย ควรรักษาด้วยยาแอนติบอดีสำเร็จรูปประเภทใด?

ศูนย์จีโนมฯ เผยข้อมูล "โอมิครอน" ที่ตรวจพบในไทย ควรรักษาด้วยยาแอนติบอดีสำเร็จรูปประเภทใด?


ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 โดยระบุว่า


โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่ตรวจพบในไทย BA.5, BA.2.75, BF.7, BQ.1, XBB และ XBB.1 ควรรักษาด้วยยาแอนติบอดีสำเร็จรูปประเภทใด?

โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่ตรวจพบในประเทศไทยจากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมและแชร์ข้อมูลบนฐานข้อมูลโควิดโลก “กิสเสด (GISAID)”   6 อันดับแรกคือ

1. BA.5* (BA.5.X)          จำนวน 2,550 ราย  33%

2. BA.2.75* (BA.2.75.X) จำนวน 61 ราย  1.4%

3. BF.7                          จำนวน 2 ราย  <0.5%

4. BQ.1                         จำนวน 1 ราย  <0.5%

5. XBB                           จำนวน 1 ราย  <0.5%

6. XBB.1                        จำนวน 2 ราย (อยู่ในระหว่างคำนวณ %)

อนึ่งโอมิครอนที่พบทั้งหมดในประเทศไทยมีจำนวนมากว่า 17,781 ราย คิดเป็นร้อยละ 71 (ระหว่าง 12 กย 2564- 27 กย 2565) โดยยังไม่พบโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย  BQ.1.1, และ XBC จากฐานข้อมูลโควิดโลก “กิสเสด” ในขณะนี้ (15/11/2565)  (ภาพ1)


โอมิครอนที่ตรวจพบในไทย ควรรักษาด้วยยาแอนติบอดีสำเร็จรูปประเภทใด?

ภาพจาก Center for Medical Genomics


 



ประเทศไทยมีการจัดเตรียมแอนติบอดีสำเร็จรูป แบบ Long Acting Antibodies (LAAB) ที่มีชื่อว่า "อีวูชีลด์" (Evusheld) เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มประชาชนเปราะบาง โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ไม่ดีเช่น ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ปลูกถ่ายอวัยวะ ปลูกถ่ายไขกระดูก หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงเกิดอาการรุนแรงและเสียชีวิตจากโควิด-19 ได้ โดย 

"อีวูชีลด์"สามารถใช้รักษาการติดเชื้อสายพันธุ์ BA.5*, BA.2.75* และสายพันธุ์ลูกผสม XBC (ยังไม่พบในประเทศไทย) ได้ดี(ภาพ2)


โอมิครอนที่ตรวจพบในไทย ควรรักษาด้วยยาแอนติบอดีสำเร็จรูปประเภทใด?

ภาพจาก Center for Medical Genomics


 


ส่วนโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BQ.1,BQ.1.1, XBB, และ XBB.1 จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่าดื้อต่อแอนติบอดีสำเร็จรูป "อีวูชีลด์" อาจต้องเปลี่ยนไปใช้แอนติบอดีค็อกเทลที่มีศักยภาพสามารถยับยั้งไวรัสโคโรนา 2019 หรือ SARS-CoV-2 ได้ทุกสายพันธุ์ (Broadly Neutralizing Monoclonal Antibodies) อาทิ แอนติบอดีค็อกเทล SA55 และ SA58 ซึ่งผลจากห้องปฏิบัติการพบว่าสามารถยับยั้ง ไวรัสโคโรนา 2019 ได้ทุกสายพันธุ์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน(ภาพ2)


ดร.อาชิช จา (Ashish Jha) หัวหน้าคณะทำงานเฉพาะกิจด้านโควิดของทำเนียบขาว ได้กล่าวว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างมากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา  ทำให้ปัจจุบันความเสี่ยงของการเจ็บป่วยรุนแรงถึงเสียชีวิตจากโควิด-19 แทบจะเป็น “ศูนย์” สำหรับผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นตามกำหนดและผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในทันทีไม่ว่าจะเป็นยาเม็ดหรือยาฉีดภายใต้ดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา

https://www.biorxiv.org/.../10.1101/2022.08.03.499114v1.full

https://www.cnbc.com/.../risk-of-covid-death-almost-zero............






ที่มา Center for Medical Genomics

ภาพจาก รอยเตอร์

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง