TNN online ระวัง! ไวรัสลูกผสม “เดลตาครอน XBC” พบในฟิลิปปินส์มากกว่า 193 ราย

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

ระวัง! ไวรัสลูกผสม “เดลตาครอน XBC” พบในฟิลิปปินส์มากกว่า 193 ราย

ระวัง! ไวรัสลูกผสม “เดลตาครอน XBC” พบในฟิลิปปินส์มากกว่า 193 ราย

ศูนย์จีโนมฯเตือนระวัง “เดลตาครอน XBC” ลูกผสมระหว่าง “เดลตา” และ “โอมิครอน BA.2” พบระบาดในฟิลิปปินส์มากกว่า 193 ราย! กลายพันธุ์ไปมากกว่า XBB และ BQ.1

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 โดยระบุว่า


"ระวัง “เดลตาครอน  XBC”  ลูกผสมระหว่าง “เดลตา” และ “โอมิครอน BA.2” พบระบาดในฟิลิปปินส์มากกว่า 193 ราย! กลายพันธุ์ไปมากกว่า XBB และ BQ.1


นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจับตามอง เดลตาครอน ซึ่งในช่วงการระบาดของโควิด19ปลายปีที่ 3 ซึ่งโอมิครอนกำลังอ่อนกำลังดูเหมือน 'เดลทาครอน' หลายสายพันธุ์จะระบาดขึ้นมาแทนที่ เช่น   XBC, XAY, XBA และ  XAW (ภาพ1) โดยเฉพาะเดลทาครอน “XBC” มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากโควิด19 สายพันธ์ดั้งเดิม “อู่ฮั่น” มากที่สุดถึงกว่า “130” ตำแหน่ง (ภาพ2)


ระวัง! ไวรัสลูกผสม “เดลตาครอน XBC” พบในฟิลิปปินส์มากกว่า 193 ราย ภาพจาก ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics)

 

ระวัง! ไวรัสลูกผสม “เดลตาครอน XBC” พบในฟิลิปปินส์มากกว่า 193 ราย



'เดลทาครอน' จากรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมประเมินว่า เป็นไวรัสโควิดที่มีศักยภาพในการโจมตีปอดอย่าง “เดลตา” และสามารถแพร่ระบาดได้รวดเร็วเหมือน “โอมิครอน” 

เมื่อต้นปี 2565 ที่ผ่านมา มีรายงานการตรวจพบ "เดลทาครอน" ในประเทศฟิลิปปินส์ แต่ก็ไม่เกิดการระบาดขยายวง จากนั้นก็สูญพันธุ์ไป 

แต่มาในช่วงปลายปี 2565 กลับพบ  “เดลตาครอน” ในประเทศฟิลิปปินส์อีกครั้งในรูปแบบของโควิดสายพันธุ์ใหม่ XBC, XBA, XAY และ XAW ระบาดขึ้นมาใหม่ (ภาพ3)


ระวัง! ไวรัสลูกผสม “เดลตาครอน XBC” พบในฟิลิปปินส์มากกว่า 193 ราย ภาพจาก ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics)

 



ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด(worst-case scenario) ลูกผสมเดลต้า-โอมิครอนอาจมีอันตรายถึงตายได้พอๆ กับสายพันธุ์เดลต้า ซึ่งคร่าชีวิตผู้ที่ติดเชื้อไปประมาณ 3.4% ซึ่งสูงกว่าอัตราการเสียชีวิตของโอไมครอนเกือบสองเท่า ตามผลการศึกษาในปี 2565 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Reviews Immunology นอกจากนี้ “เดลตาครอน”อาจมีความสามารถในการแพร่ติดต่อได้อย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับโอมิครอน

การทำนายความรุนแรงของสายพันธุ์ลูกผสมเป็นเรื่องยาก เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ไม่แน่ใจว่าเหตุใดโอมิครอนจึงดูเหมือนจะทำให้เกิดโรคโควิด-19 ที่รุนแรงน้อยกว่า เมื่อเทียบกับเดลตา


นักวิทยาศาสตร์ไม่ยังเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าทำไมโควิด-19 จึงเปลี่ยนจาก “โรคทางเดินหายใจส่วนล่าง” ในช่วง 2 ปีแรกที่เดลต้าและสายพันธุ์ก่อนหน้าระบาดมาเป็น “โรคทางเดินหายใจส่วนบน” ที่มีความรุนแรงน้อยลง การเปลี่ยนแปลงอาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงนอกเหนือไปจากโปรตีนหนามซึ่งไวรัสใช้ในการเกาะติดเซลล์ของมนุษย์ และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน ทำไมประเทศไทยควรกังวล เพราะประเทศฟิลิปปินส์หนึ่งในอาเซียนที่อยู่ใกล้ประเทศไทย ขณะนี้ตรวจพบผู้ติดเชื้อโอมิครอน XBB  จำนวนถึง 81 รายพร้อมไปกับพบลูกผสม XBC ใน 11 จังหวัด ถึง 193 ราย 


นักวิทยาศาสตร์อาเซียนได้ช่วยกันถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโคโรนา 2019 และแชร์ไว้บนฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “กิสเสด (GISAID)” 

ลูกผสม XBB

สิงคโปร์  1137  ราย  12.154%

อินโดนีเซีย 90  ราย 0.623%

บรูไน 77 ราย 4.254%

มาเลเซีย 32 ราย  0.358%

ฟิลิปปินส์ 20 ราย 0.490%

กัมพูชา 1 ราย 0.197%

ลูกผสม XBC 

ฟิลิปปินส์ 35 ราย 0.857%

บรูไน 15 ราย 0.829%

สิงคโปร์ 1 ราย 0.011%

มาเลเซีย 1 ราย 0.011%

สายพันธุ์ลูกผสม “XBB” และ “XBC” จากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “กิสเสด (GISAID)” ยังไม่พบในประเทศไทย

https://fortune.com/.../resurgence-deltacron-omicron.../"






ที่มา ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics)

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ