TNN online นักไวรัสฯ ห่วงโควิด-19 แพร่จากคนไปติดสัตว์หลายชนิด

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

นักไวรัสฯ ห่วงโควิด-19 แพร่จากคนไปติดสัตว์หลายชนิด

นักไวรัสฯ ห่วงโควิด-19 แพร่จากคนไปติดสัตว์หลายชนิด

นักไวรัสวิทยา ไบโอเทค ห่วงไวรัสโควิด -19 จะไม่จำกัดอยู่เฉพาะในประชากรมนุษย์อีกต่อไป หลังพบสัตว์ติดเชื้อหลายชนิด

วันนี้ ( 10 พ.ย. 65) ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก โดยได้เปิดเผยข้อมูล ของทีมวิจัยในสหรัฐอเมริกา ที่ออกไปสำรวจประชากรของสัตว์ป่าในรัฐเวอร์จิเนีย 

โดยสำรวจหาเชื้อไวรัสโดยใช้การตรวจด้วย RT-PCR หรือ ใช้การตรวจหาแอนติบอดีในเลือดสัตว์ เพื่อเป็นการยืนยันว่าสัตว์ตัวนั้นครั้งหนึ่งเคยติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 มาก่อน 

ตัวเลขออกมาชัดเจนว่า ไวรัส SARS-CoV-2 ไม่ได้จำกัดอยู่ในประชากรมนุษย์อีกต่อไปแล้ว ไวรัสมีการกระโดดจากคนไปหาสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะบริเวณที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์ป่ามากๆ โดยสัตว์ตระกูลกระรอก โอพอสซัม สกังก์ และ แร็กคูน เป็นกลุ่มที่มีแอนติบอดีต่อเชื้ออยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีโอกาสที่เกิดจากเชื้อแพร่กระจายอยู่ในประชากรในสัตว์ตระกูลเหล่านี้

ดร.อนันต์ บอกด้วยว่า นักวิจัยเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงของไวรัสที่ไม่พบในไวรัส ที่แยกมาจากมนุษย์ในบางตำแหน่ง ซึ่งหมายถึงไวรัสกลุ่มที่อยู่ในสัตว์เหล่านี้ กำลังเปลี่ยนตัวเองแยกออกจากไวรัสเริ่มต้น เหมือนที่พบในประชากรมนุษย์เช่นเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อาจเป็นผลดี ถ้าเปลี่ยนไปในทางที่ห่างจากไวรัสที่ติดคนมากขึ้น คือ จะติดคนยากขึ้นไปเรื่อยๆ 

หรืออาจเป็นไปในทางไม่ดี คือ ความสามารถยังติดคนได้ แต่การเปลี่ยนแปลงมีมากจนคุณสมบัติของไวรัสเปลี่ยนแปลงไปทั้งกลไกการก่อโรค และการหนีภูมิคุ้มกัน //ซึ่งถ้าเกิดแบบกรณีหลัง จะเป็นเรื่องที่สร้างปัญหาได้อีก การที่ไวรัสไปอยู่ในสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ไม่ใช่สิ่งที่ดี เพราะโอกาสจะเกิดอะไรที่คาดเดายากจะมากขึ้นไปอีก เพราะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวสัตว์แต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน ดังนั้น การเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของไวรัสในมนุษย์อย่างต่อเนื่องยังจำเป็นมากๆ

ข้อมูลจาก :ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา

ภาพจาก  :  AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง