TNN online ศูนย์จีโนมฯเผยโอมิครอน BA.1 ในไทยสูญพันธุ์แล้ว BA.2 ลดลงต่อเนื่อง

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

ศูนย์จีโนมฯเผยโอมิครอน BA.1 ในไทยสูญพันธุ์แล้ว BA.2 ลดลงต่อเนื่อง

ศูนย์จีโนมฯเผยโอมิครอน BA.1 ในไทยสูญพันธุ์แล้ว BA.2 ลดลงต่อเนื่อง

ศูนย์จีโนมฯเผยโอมิครอน BA.1 ในไทยสูญพันธุ์แล้ว BA.2 ผู้ติดเชื้อลดลงต่อเนื่อง ขณะที่ยังไม่พบ BA.4, BA.5 และ BA.2.12.1 ระบาดในประเทศ

วันนี้( 5 พ.ค.65) ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความระบุว่า โอกาสติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย “BA.4”,  “BA.5” และ “BA.2.12.1” ซ้ำ (re-infection)

รายงานจากบรรดานักวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศพบว่าจากผลการทดลองในห้องปฏิบัติการโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย (new sub-variant)  BA.4, BA.5, และ BA.2.12.1 สามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามผู้ที่ติดเชื้อสายพันธุ์ย่อยดังกล่าวมักจะมีอาการไม่รุนแรง ใกล้เคียงโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม

ศาสตราจารย์จูลี่ สวอนน์ (Julie Swann) แห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนอร์ทแคโรไลนา ที่ปรึกษาของ U.S. CDC  เกี่ยวกับโรคระบาด กล่าวว่าระดับความเสี่ยงของบุคคลที่จะติดเชื้อซ้ำ (re-infection) อาจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆร่วมด้วย เช่น อายุ ภาวะสุขภาพพื้นฐาน และช่วงเวลาการฉีดวัคซีนครั้งล่าสุดหรือการติดเชื้อครั้งล่าสุด

หากคนในวัย 60 ปีได้รับวัคซีนกระตุ้นเมื่อ 4-6 เดือนก่อน  อาจมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อซ้ำได้ด้วยโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยตัวใหม่ และอาจมีอาการรุนแรง (severe)ได้  ตรงข้ามหากคนวัย 60 เช่นกันแต่เพิ่งติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มาก่อนหน้าหรือได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นภายในระยะเวลา 3-4 เดือน หากติดเชื้อโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยที่เพิ่งอุบัติขึ้นมา (new sub-variant) จะมีอาการของโรคโควิด-19 ที่ไม่รุนแรง (mild)  

ศาสตราจารย์ อเล็กซ์ ซิกัล (Alex Sigal) นักไวรัสวิทยาที่สถาบันวิจัยสุขภาพแอฟริกาในแอฟริกาใต้ ระบุว่าผู้ที่เคยทั้งฉีดวัคซีนและติดเชื้อด้วยสายพันธุ์โอมิครอนดั้งเดิมมาก่อนอาจมีภูมิคุ้มกันที่กว้างกว่า (broader) ที่สามารถต่อสู้กับโอมิครอนสายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งอุบัตขึ้นมาได้

ศูนย์จีโนมฯเผยโอมิครอน BA.1 ในไทยสูญพันธุ์แล้ว BA.2 ลดลงต่อเนื่อง

ส่วนประเทศไทยมีอัตราการฉีดวัคซีนอยู่ในเกณฑ์สูงถึง 80% ซึ่งสูงกว่าอังกฤษ อเมริกา เยอรมันนี และ อินเดีย และจากการที่ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ ร่วมกับสถาบันการแพทย์ทั่วประเทศสุ่มถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสโคโรนา 2019  พบว่า BA.1 สูญพันธุ์ไปแล้ว ในขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อ BA.2 รายใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยยังไม่พบโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4, BA.5 และ BA.2.12.1 ระบาดในประเทศ

ขณะที่การสุ่มถอดรหัสพันธุกรรม BA.4 ทั้งจีโนมจากตัวอย่างทั่วโลกและซับมิทขึ้นบนฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” พบแล้ว +667 ราย ประมาณว่าน่าจะมีการระบาดอยู่ประมาณ  +2,652 ราย

มีการสุ่มถอดรหัสพันธุกรรม BA.5 ทั้งจีโนมจากทั่วโลกและซับมิทขึ้น “GISAID” เรียบร้อยแล้ว +318 ราย ประมาณว่าน่าจะมีการระบาดอยู่ +1,000 ราย

ล่าสุดมีการสุ่มถอดรหัสพันธุกรรม BA.2.12.1 ทั้งจีโนมจากทั่วโลกและซับมิทขึ้น “GISAID” ไปแล้ว  +10,233 ราย ประมาณว่าน่าจะมีการระบาดอยู่ ทั่วโลกกว่า +40,000 ราย


ข้อมูลจาก :ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) 

ภาพจาก :  AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง