TNN online ผลศึกษาที่กาฬสินธุ์ พบวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 แอสตร้าฯ-ไฟเซอร์ ต้านโอมิครอนได้ 80-90%

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

ผลศึกษาที่กาฬสินธุ์ พบวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 แอสตร้าฯ-ไฟเซอร์ ต้านโอมิครอนได้ 80-90%

ผลศึกษาที่กาฬสินธุ์ พบวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 แอสตร้าฯ-ไฟเซอร์ ต้านโอมิครอนได้ 80-90%

อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยข้อมูลผลศึกษาประสิทธิผลวัคซีนในพื้นที่กาฬสินธุ์ พบผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็ม 3 กระตุ้น ทั้งแอสตร้าเซนเนก้าและไฟเซอร์ ป้องกันการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ร้อยละ 80-90 ขณะที่ปี 2565 ครม.อนุมัติวงเงินจัดซื้อวัคซีนโควิดแล้ว จำนวน 90 ล้านโดส

วันนี้ (14 ม.ค.65) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 ขณะนี้เป็นไปตามเป้า โดยได้มีการประมวลผลศึกษาประสิทธิผลของวัคซี โควิดตั้งแต่สิงหาคมถึงธันวาคม 2564

พบว่า ประสิทธิผลของวัคซีนแต่ละชนิดที่ไทยได้ดำเนินการฉีดไปนั้น พบว่า ป้องกันการเสียชีวิตได้อัตราร้อยละ 97-99 ภาพรวมการฉีดวัคซีนทุกประเภททุกสูตร มีประสิทธิภาพสูงถึงร้อยละ 90-100 ในการป้องกันอาการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต

ขณะที่ การฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มประเภทเดียวกัน มีประสิทธิผลสูงพอสมควรในการป้องกันการติดเชื้อแต่ประสิทธิผลจะลดลงเมื่อผ่านไปหลังฉีดวัคซีน ส่วนการฉีดเข็มที่ 3 ในผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการป้องกันการติดเชื้อให้สูงขึ้นและช่วยควบคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยผู้ที่ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนเชื้อตายมาก่อนไม่ว่าจะเป็นแอสตร้าเซนเนก้าหรือไฟเซอร์ พบว่า มีประสิทธิผลการป้องกันติดเชื้อและเสียชีวิตได้สูงไม่แตกต่างกัน

ขณะเดียวกัน ผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็ม 3 กระตุ้น ทั้งแอสตร้าเซนเนก้า และไฟเซอร์ มีข้อบ่งชี้ว่า ยังมีประสิทธิผลป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน สูงถึงร้อยละ 80-90 จากเหตุการระบาดที่จังหวัดกาฬสินธุ์

ผลศึกษาที่กาฬสินธุ์ พบวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 แอสตร้าฯ-ไฟเซอร์ ต้านโอมิครอนได้ 80-90%

นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า นโยบายบริหารจัดการวัคซีนเข็มกระตุ้นของกระทรวงสาธารณสุขในเดือนมกราคม 2565 กำหนดให้ผู้ที่เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น โดย ผู้รับวัคซีนซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า (SV+AZ) ในเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม ให้พิจารณาวัคซีนเข็มกระตุ้นเป็นวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AZ) เป็นหลัก

ผู้ได้รับวัคซีน แอสตราเซนาก้าครบ 2 เข็ม (AZ+AZ) ในเดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม ให้พิจารณาวัคซีนเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีนไฟเซอร์ (PZ)

นอกจากนี้ จากผลการศึกษา ประสิทธิภาพวัคซีนชนิดไวรัคเวคเตอร์ และ ชนิด mRNA ประสิทธิผลไม่แตกต่างกัน.

อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุเพิ่มเติมว่า ในปี 2565 ครม.อนุมัติวงเงินให้กระทรวงสาธารณสุขจัดซื้อวัคซีนโควิดเรียบร้อยแล้ว จำนวน 90 ล้านโดส ในจำนวนนี้เป็นไฟเซอร์ 30 ล้านโดส ยืนยันวัคซีนมีเพียงพอ.


ข้อมูลจาก ทีมข่าว TNN ช่อง 16

ภาพจาก TNN ONLINE


ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง