TNN online นพ.สันต์ เผยวิจัยผู้ป่วย"โอมิครอน"อัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า"เดลตา"ถึง 9 เท่า!

TNN ONLINE

เกาะติด COVID-19

นพ.สันต์ เผยวิจัยผู้ป่วย"โอมิครอน"อัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า"เดลตา"ถึง 9 เท่า!

นพ.สันต์ เผยวิจัยผู้ป่วยโอมิครอนอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่าเดลตาถึง 9 เท่า!

นพ.สันต์ เผยงานวิจัยผู้ป่วย "โอมิครอน" ในสหรัฐฯ พบอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า "เดลตา" ถึง 9 เท่า

วันนี้( 13 ม.ค.65) นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ศัลยแพทย์หัวใจและผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว ได้เผยบทบาทเกี่ยวกับไวรัสโควิดสายพันธุ์ "โอมิครอน" ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว

โดยระบุว่า ความกลัวโอมิครอนทั่วโลก ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่มีการแพร่ข่าวเรื่องความรุนแรงของโรคนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาในประเด็นต่างๆเช่น 

การที่ยอดผู้ป่วยถูกแอดมิทไว้รักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น การตายเพิ่มขึ้น เด็กป่วยมากกว่าผู้ใหญ่และตายมากกว่าผู้ใหญ่ เป็นต้น ทั้งหมดนั้นเป็นเพียงแค่ข่าว 

ไม่ใช่หลักฐานวิทยาศาสตร์ แต่ตอนนี้หลักฐานวิทยาศาสตร์ของจริงออกมาแล้ว เป็นงานวิจัยที่แคลิฟอร์เนียซึ่งสปอนเซอร์โดยศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐฯ (CDC) 

มีศูนย์ประสานงานการวิจัยอยู่ที่ยูซี.เบอร์คเลย์ ซึ่งผมขอสรุปผลให้ฟังดังนี้

งานวิจัยนี้ทำกับผู้ป่วยติดเชื้อโอมิครอนที่ยืนยืนการตรวจด้วยเทคนิค SGTF (S gene target failure) ทำเฉพาะกับผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลจำนวนรวม 52,297 คน พบผลดังนี้

ผู้ป่วยทั้งหมด รวม 52,297 คน หากนับเฉพาะคนที่ติดตามได้อย่างน้อย 5.5 วัน รวมทั้งหมด 288,534 คนวัน พบว่า

ผู้ป่วยถูกรับไว้ในโรงพยาบาล 88 คน (0.48%)

ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 0 คน (0%)

ท้ายที่สุดแล้วมีตาย 1 คน (0.09%)

โดยที่การติดเชื้อและระดับความรุนแรงมีการกระจายตัวเท่าๆกันทุกกลุ่มอายุ ไม่เป็นความจริงที่ว่าเด็กป่วยมากกว่าและจะตายมากกว่า

ขณะเดียวกันงานวิจัยนี้ยังได้เปรียบเทียบกับการติดเชื้อเดลตาซึ่งมาที่กลุ่มโรงพยาบาลเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกันจำนวน 16,982 คน พบว่า

ผู้ป่วยทั้งหมด รวม 16,982 คน

ถูกแอดมิทเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 222 คน (1.3%)

ใส่เครื่องช่วยหายใจ 11 คน (0.06%)

ท้ายที่สุดแล้วตาย 14 คน (0.8%)

โปรดสังเกตว่าอัตราตายของโอมิครอนคือ 0.09% นั้นต่ำกว่าอัตราตายของเดลต้าซึ่งตาย 0.8% ต่างกันถึง 9 เท่า

ผมเล่าเรื่องงานวิจัยนี้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนจัดการโรคของทุกท่านที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแฟนบล็อกทุกคนที่มีหน้าที่ต้องจัดการสุขภาพของตนเองด้วย 

เพื่อที่เราจะได้ไม่ทำอะไรที่มากเกินไป หรือที่เสี่ยงเกินไป หรือที่แพงเกินไป เพื่อปกป้องตัวเราให้จากพ้นโรคที่มีอัตราตายต่ำกว่า 0.1% หรือพูดง่ายๆว่าใกล้ศูนย์ 

โดยยอมทิ้งความใส่ใจในโรคเจ้าประจำอื่นๆที่มีอัตราตายสูงกว่า เช่นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมีอัตราตาย 30% โรคไข้หวัดใหญ่มีอัตราตาย 0.13-0.17% เป็นต้น



ข้อมูลจาก นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

ภาพจาก AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง