TNN online สินทรัพย์ดิจิทัลกับการประเมิน Valuation (กรณีศึกษา MakerDAO) ตอนที่ 1 โดย Zipmex

TNN ONLINE

คอลัมนิสต์

สินทรัพย์ดิจิทัลกับการประเมิน Valuation (กรณีศึกษา MakerDAO) ตอนที่ 1 โดย Zipmex

สินทรัพย์ดิจิทัลกับการประเมิน Valuation (กรณีศึกษา MakerDAO) ตอนที่ 1  โดย Zipmex

สินทรัพย์ดิจิทัลกับการประเมิน Valuation (กรณีศึกษา MakerDAO) ตอนที่ 1 วิเคราะห์โดย เอกราช ศรีศุภวิชากิจ Head of Risk Management & Research Specialist Zipmex Trader

การมาของสินทรัพย์ดิจิทัลรวมถึงการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ทำให้มีคนสนใจเข้ามาศึกษามากพอสมควรในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นั่นทำให้มีการพยายามค้นคว้าหาคำตอบเกี่ยวกับกลยุทธ์การลงทุน การเก็งกำไร ไม่ว่าจะคิดขึ้นใหม่หรือประยุกต์มาจากสินทรัพย์ลงทุนแบบเดิม อย่างหุ้น, หุ้นกู้, ทองคำ เป็นต้น

ในบทความนี้ของเราจึงจะมาแชร์ไอเดียหนึ่งเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าหรือ Valuation ในสินทรัพย์ดิจิทัลว่าทำได้หรือไม่ ทำได้อย่างไร โดยมีกรณีศึกษาจากเหรียญที่มีชื่อว่า MakerDAO โดยเราอ้างอิงข้อมูลมาจากบทความของนักวิเคราะห์ท่านหนึ่งในต่างประเทศ และข้อมูลของเหรียญ MKR จาก Coin Insight Zipmex (ลิ้งค์อ้างอิงใส่ไว้ท้ายบทความ)

ภาพรวมของ MakerDAO 

MakerDAO Project เกิดขึ้นเมื่อปี 2015 ริเริ่มจากคุณ Rune Christensen ที่เล็งเห็นข้อบกพร่องของ Bitcoin เนื่องจากการถูกจำกัดด้วยปริมาณ Supply บวกกับการถูกนำไปใช้เก็งกำไร ส่งผลให้มูลค่าราคาของ Bitcoin มีความผันผวนสูงเกินกว่าที่จะใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเหมือนกับ Fiat Currency จึงเกิดแนวคิดริเริ่มการสร้างระบบการเงินที่สามารถสร้าง Stable Coin ซึ่งมีมูลค่าคงที่และความผันผวนต่ำสามารถใช้เป็นสื่อกลางในชีวิตประจำวันได้

MakerDAO คืออะไร

Project รูปแบบขององค์กรซึ่งนำแนวคิดของการบริหารแบบกระจายอำนาจ เรียกว่า Decentralized Autonomous Organization  มาใช้ โดยให้คนที่ทำการถือครอง MKR Token ที่มีคุณสมบัติเป็น Governance Token มีสิทธิในการบริหารคือ MakerDAO (องค์กร) และ โครงสร้างของ Maker Protocol ผ่านการโหวตออกเสียงและผ่านการนำเสนอนโยบายต่างๆต่อทางชุมชนผู้ถือครอง MKR Token หรือ MKR Governance

Insight

Dai Stable coin System

ในอดีต MakerDAO ได้ออกแบบระบบสร้าง Stable Coin ออกมาเป็นเหรียญ Dai หรือ Sai โดยเรียกระบบนี้ว่า Dai Stable Coin System เพราะระบบจะใช้คริปโตเคอร์เรนซีประเภทเดียวเท่านั้นสำหรับการวางเป็นหลักประกันในการสร้าง Dai ออกมาแล้วถึงเรียกอีกชื่อนึงว่า Sai ย่อมาจาก Single Collateral Dai  จนต่อมาทาง Maker Governance ได้มีเสนอนโยบายการพัฒนาและอัปเกรดระบบให้สามารถรองรับประเภทคริปโตเคอร์เรนซีที่ถูกใช้เป็นหลักประกันได้หลากหลายมากขึ้น จนเกิดรูปแบบใหม่คือ Multiple Collateral Dai System (MCD) หรือที่เรารู้จักกันอีกชื่อ Maker Protocol 

Maker Protocol

Maker Protocol คือ เป็น Decentralized Finance ในรูปแบบของการสร้างเหรียญ Stable Coin จากการวางหลักประกันแบบ Multi-Collateral จากคริปโตเคอร์เรนซีที่หลากหลาย โดยดำเนินงานบนระบบเคือข่ายของทาง Ethereum Blockchain ซึ่งให้ผู้คนสามารถเข้ามาใช้บริการวางคริปโตเคอร์เรนซีเป็นหลักประกันสำหรับการสร้างเหรียญ Stable Coin มาใช้ทำธุรกรรมการเงินต่างๆภายใน Ethereum Ecosystem นั้นก็คือ Dai ที่มีมูลค่าใกล้เคียงกับ US Dollar ด้วยการคำนวณจากระบบ 

ซึ่ง Dai จะแตกต่างจาก Stable Coin อื่น โดยก่อนที่จะทำการสร้าง Dai นั้นระบบ Protocol จะทำการ Back ด้วยคริปโตเคอร์เรนซีจากการวางเป็นหลักประกันในการสร้าง Dai ขึ้นมา ซึ่งแตกต่างจาก USDC , USDT ที่ใช้ US Dollar สำรองไว้โดยตรงตามสัดส่วนที่แตกต่างกันตามนโยบายของทางบริษัทผู้ออกและยากที่จะตรวจสอบ ผิดกับ Dai ที่ถูกจัดการบน On-Chain สามารถทำให้ผู้คนสามารถตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการได้

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ของทาง Maker

Oasis Borrow

มีลักษณะเป็นบริการที่ให้ผู้เข้าใช้งานเข้ามาเลือก Vault สำหรับการวางหลักประกันคริปโตเคอร์เรนซีเพื่อสร้าง Dai ออกมา โดยแต่ละ Vault นั้นจะถูกกำหนดให้รองรับเฉพาะ BAT, ETH และเหรียญที่ทาง MKR Governance นั้นเห็นชอบและผ่านการอนุมัติเรียบร้อยแล้วเท่านั้น

 Oasis Save

มีลักษณะเป็นบริการฝากโดยทำการล็อค Dai ไว้กับ Maker Protocol ผ่าน Smart Contract เพื่อรับผลตอบแทนในรูปแบบที่เรียกกันว่า Dai Saving Rate (DSR) ซึ่งทาง Oasis Save ไม่ได้มีการกำหนดขั้นต่ำในการล็อค Dai นอกจากนี้ผู้บริการสามารถทำการฝาก-ถอนออกได้ตลอดเวลา

 Oasis Trade

มีลักษณะเป็น Trading Platform ที่ให้บริการซื้อขายแลกเปลี่ยน Dai และ คริปโตเคอร์เรนซีอื่น ๆ ที่รองรับการใช้งานภายใต้ Oasis Trade นอกจากนี้ทางระบบยังมีบริการ Swap เหรียญแบบเบ็ดเสร็จเพื่อให้สามารถทำการเทรดบน Platform ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาในการไปแลกเปลี่ยนที่อื่น 

สินทรัพย์ดิจิทัลกับการประเมิน Valuation (กรณีศึกษา MakerDAO) ตอนที่ 1  โดย Zipmex

รายได้มาจาก 3 ส่วน

1.    Interest revenues from overcollateralized loans

2.    Liquidation revenues from fees charged on liquidated vaults

3.    Stablecoin trading fees from the Price Stability Module (PSM)

การเติบโตของ Stablecoin และ DAI 

ความน่าสนใจในโลกการเงินแบบใหม่ที่เรียกว่า DeFi ไม่ว่าจะเป็นในด้านการปล่อยกู้, การวางหลักประกัน, การสร้างสภาพคล่อง เป็นต้น ส่งผลให้เม็ดที่ไหลจากโลกการเงินเดิม ๆ เข้ามาใน DeFi อย่างเห็นได้ชัด หากนับตั้งแต่มิถุนายน 2020 จนถึงมิถุนายน 2021 ก็เติบโตจาก 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็น 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  

สินทรัพย์ดิจิทัลกับการประเมิน Valuation (กรณีศึกษา MakerDAO) ตอนที่ 1  โดย Zipmex

ในส่วนการเติบโตของ Maker นั้นได้รับประโยชน์จากความนิยมของ DeFi โดยที่ Supply ของ DAI เติบโตจาก 127 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่มิถุนายน 2020 จนถึงมิถุนายน 2021 พูดง่าย ๆ คือ Stablecoin โตประมาณ 1,000%  แต่ DAI โต 3,800% ภายในช่วงระยะเวลาเท่ากัน ปัจจุบัน DAI มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 5 % ของ  Stablecoin ทั้งหมด (As of June 2021)  

สินทรัพย์ดิจิทัลกับการประเมิน Valuation (กรณีศึกษา MakerDAO) ตอนที่ 1  โดย Zipmex

การเติบโตของรายได้ Maker

เนื่องจาก Demand ในส่วนของ Lending และเหรียญ DAI มีมากขึ้น ส่งผลให้รายรับสุทธิหรือ (Net Income) เพิ่มสูงขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 มีกำไรมากกว่า 63 ล้านดอลลาร์สหรัฐเทียบกับช่วงเวลาเดียวในปีก่อนถือว่าโตขึ้น 7 เท่า 

สินทรัพย์ดิจิทัลกับการประเมิน Valuation (กรณีศึกษา MakerDAO) ตอนที่ 1  โดย Zipmex

Lending Revenues ในส่วนนี้มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 7.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ/เดือนในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 เพิ่มขึ้น 13 เท่าจากครึ่งหลังของปี 2020 สาเหตุมาจาก Demand ที่สูงขึ้นรวมถึงส่วนต่างดอกเบี้ยที่มากขึ้น อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจาก 2% เป็น 5% ในเดือนเมษายน/พฤษภาคม 2021

Liquidation Revenues รายได้ในส่วนของ Penalties Charged บน Liquidated Vaults พุ่งขึ้นไปถึง 9.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนพฤษภาคม 2021 แต่รายได้ส่วนนี้เป็นส่วนที่ไม่แน่นอนเพราะเรียกเก็บจากมูลค่าหลักประกันที่ลดลง ผ่านการเก็บค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี ถ้าหากความผันผวนของสินทรัพย์ค้ำประกัน (Collateral) ลดลง รายได้ส่วนนี้ก็จะน้อยลงตามไปด้วย

Trading Revenues รายได้จากการซื้อขายหมายถึงค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจาก Maker's Price Stability Module (PSM) ในส่วนนี้เห็นการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2021 เนื่องจากความต้องการ DAI เพิ่มขึ้นในขณะที่สินเชื่อที่มีหลักประกันเป็นคริปโต ฯ ลดลง

แล้วในส่วนของการประเมิน Valuation ของเหรียญนี้เราขออนุญาตมาต่อในบทความตอนที่ 2 เพื่อไม่ให้เนื้อหาในครั้งนี้ยาวมากเกินไป ฝากติดตามกันด้วยนะครับ


ภาพประกอบ Zipmex ,Pixabay,FB Maker

ข่าวแนะนำ