TNN online วงการกีฬาจีนสู่อุตสาหกรรมโลก (ตอน 6 ) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

TNN ONLINE

คอลัมนิสต์

วงการกีฬาจีนสู่อุตสาหกรรมโลก (ตอน 6 ) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

วงการกีฬาจีนสู่อุตสาหกรรมโลก (ตอน 6 ) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

วงการกีฬาจีนสู่อุตสาหกรรมโลก (ตอน 6 ) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน


แบรนด์จีนถัดมาก็ได้แก่ ไฮเซ้นส์ แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ชั้นแนวหน้าจากเมืองชิงต่าว และจัดเป็นแบรนด์อันดับ 2 ของจีน 

กลุ่มไฮเซ้นส์มีพนักงานมากกว่า 80,000 คนทั่วโลกและสวนอุตสาหกรรม 14 แห่งในหลายหัวเมืองของจีนและต่างประเทศ อาทิ สหรัฐฯ เยอรมนี สโลเวเนีย อิสราเอล และอื่นๆ โดยสินค้าเด่นของกลุ่มที่ทำรายได้หลักได้แก่ โทรทัศน์ โดยล่าสุดยังได้ออกทีวี 8K รุ่นใหม่ที่มีความละเอียดถึง 33 ล้านพิกเซลส์ หรือ 4 เท่าของทีวี 4K หรือ 16 เท่าของโทรทัศน์แบบฟูลเอชดี (FHD TV) ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

นอกจากนี้ ธุรกิจในเครือจำนวนหลายรายยังได้ขึ้นทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง อาทิ Hisense Visual Technology และ Hisense H.A. ทั้งนี้ ทั้งสองรายมีรัฐบาลจีนร่วมถือหุ้นอยู่มากกว่า 30% ของสินทรัพย์ผ่านบริษัทไฮเซ็นส์โฮลดิ้ง (Hisense Holding Company)

ในแง่ของการเป็นผู้สนับสนุนวงการกีฬา กลุ่มไฮเซ้นส์ก็เป็น “เจ้าบุญทุ่ม” มาเป็นเวลานาน ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2008 บริษัทได้ตกลงสนับสนุน Melbourne & Olympic Parks โดยเปลี่ยนชื่อสนามกีฬาเอนกประสงค์เป็น “Hisense Arena” เป็นเวลา 6 ปี ซึ่งถือเป็นสนามกีฬาในต่างประเทศแห่งแรกที่ใช้ชื่อตามบริษัทจีน

ไฮเซ้นส์กรุ๊ปเป็นผู้สนับสนุนทีมกีฬาอีกหลายแห่งทั้งในจีนและต่างประเทศในเวลาต่อมา ในปี 2017 กลุ่มไฮเซ้นส์ร่วมเป็นพันธมิตรเชิงยุทธ์กับแอสตันวิลล่า (Aston Villa F.C.) ทีมฟุตบอลในพรีเมียร์ลีกอังกฤษ และยังเป็นผู้สนับสนุนหลักของสหพันธ์สมาคมฟุตบอลยุโรป (Union of European Football Associations) หรือ “ยูฟ่า” (UEFA) ในฟุตบอลยูโร 2016 และ 2020 

ความสำเร็จทางการตลาดของไฮเซ้นส์ในการเป็นผู้สนับสนุนฟุตบอลโลกด้วยเม็ดเงิน 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในทัวร์นาเม้นต์ 2018 ที่รัสเซีย และทำให้ยอดขายของบริษัทสร้างประวัติศาสตร์เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัวหลังจากเริ่มเปิดการแข่งขัน ก็อาจเป็นเหตุผลที่ไฮเซ้นส์ตกลงเป็นผู้สนับสนุนฟุตบอลโลกที่กาตาร์ในครั้งนี้ด้วยเงิน 35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ


วงการกีฬาจีนสู่อุตสาหกรรมโลก (ตอน 6 ) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร


เหมิงหนิว ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์นมจากเมืองโฮห์ฮอต มองโกเลียใน บริษัทมีพนักงานราว  40,000 คน และมีกำลังการผลิตต่อปี 9.9 ล้านตันจากฐานการผลิตรวม 33 แห่ง ซึ่งครอบคลุม 3 สินค้าหลัก ได้แก่ กลุ่มสินค้านมสด อันได้แก่ นมยูเอชที เครื่องดื่มนม โยเกิร์ต เนย และเนยแข็ง และกลุ่มสินค้าไอศกรีม ซึ่งผลิตและกระจายสินค้าไอศกรีมไปทั่วจีนและต่างประเทศ และกลุ่มผลิตภัณฑ์นมอื่น อาทิ นมผง และนมอัดเม็ด 

ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา เหมิงหนิว ก็เติบโตอย่างรวดเร็วและมีผู้ร่วมทุนรายใหญ่เข้ามาเป็นพันธมิตร กล่าวคือ ในปี 2002 มอร์แกนสแตนลีย์ (Morgan Stanley) ซีดีเอชอินเวสต์เมนต์ (CDH Investments) และไชนาแคปปิตอลพาร์เนอร์ (China Capital Partners) ได้ลงนามในความตกลงด้านการลงทุนมูลค่า 26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อแลกกับหุ้น 32% ของบริษัท

ช่วงกลางปี 2004 เหมิงหนิวได้เข้าไปลิสต์ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง และในราว 5 ปีต่อมา บริษัทก็ตัดสินใจขายหุ้น 20% ให้กับกลุ่มคอฟโค (COFCO Group) เทรดเดอร์สินค้าเกษตรรายใหญ่สุดของจีน ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ส่งผลให้กิจการมีสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจจีนไปโดยปริยาย 

เอกสารที่ตีพิมพ์โดยราโบแบ้งค์ (Rabobank) ระบุว่า นับแต่ปี 2017 “วัวมองโกเลีย” ได้ก้าวขึ้นไปติด 10 อันดับแรกของท๊อป 20 ผลิตภัณฑ์นมชั้นนำของโลก (Global Dairy Top 20) 

“เหมิงหนิวยังคงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมโลกที่มีสุขภาพที่ดีขึ้นผ่านสินค้าที่อุดมไปด้วยโภชนาการและปกป้องโลกที่ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับค่านิยมของฟีฟ่าที่ส่งเสริมชีวิตที่ดีผ่านฟุตบอลและการแข่งขันที่ยุติธรรม” ด้วยความพร้อมและสอดประสานดังกล่าว เราจึงเห็นเหมิงหนิวเป็นผู้สนับสนุน “กาตาร์ 2022” โดยใช้เงิน 60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

และอีกรายหนึ่งก็ได้แก่ วีโว่ (Vivo) แบรนด์โทรศัพท์มือถือรายใหญ่ของจีน บริษัทก่อตั้งที่เมืองตงก่วน (Dongguan) มณฑลกวางตุ้งเมื่อราว 10 ปีก่อน 

ด้วยการพัฒนาสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่องทำให้แบรนด์วีโว่เติบใหญ่อย่างรวดเร็ว จนมีพนักงานกว่า 10,000 คน และศูนย์วิจัยและพัฒนา 10 แห่งในหลายเมืองของจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ และมีลูกค้ากว่า 400 ล้านรายกระจายในกว่า 60 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลกในปัจจุบัน ทั้งนี้ ในปี 2021 วีโว่ติดอยู่อันดับที่ 5 ของผู้ผลิตสมาร์ตโนโลก และมีสัดส่วนตลาดอยู่ 8% ของตลาดโลก

ในการสนับสนุนวงการกีฬา ในปี 2015 วีโว่ได้เป็นสปอนเซอร์ของพรีเมียร์ลีกอินเดีย และขยายระยะเวลาการสนับสนุนเป็นเวลาหลายปี คล้ายกับไฮเซ้นส์ วีโว่ลงนามเป็นผู้สนับสนุนฟุตบอลยูโร 2020 และ 2024 และฟุตบอลโลก 2018 และ 2022 



จากข้อมูลของโกลบอลดาต้า (Global Data) บริษัทที่ปรึกษาที่มีสำนักงานใหญ่ ณ กรุงลอนดอน ระบุว่า แบรนด์จีนดังกล่าวทุ่มเงินจำนวนรวม 1,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มากกว่าของแบรนด์อเมริกันที่จ่ายเงินสนับสนุน 1,100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งในด้านหนึ่งอาจสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของธุรกิจในประเทศเหล่านี้

ไม่รู้จะเป็นการ “แก้เกี้ยว” หรือไม่ อย่างไร เราจึงเห็นแบรนด์จีนถูกองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ “แอมเนสตี้” ออกโรงมา “เตะตัดขา” พร้อมกับกล่าวหาว่า บางแบรนด์จีนดำเนินธุรกิจไม่เหมาะสม จนกลายเป็น “ควันหลง” ในประเด็นการเป็นผู้สนับสนุนการแข่งขันดังกล่าวของแบรนด์จีนขึ้นมาจนได้

อีกประการหนึ่งที่ผมอยากจะพูดถึงทิ้งท้าย ก็คือ แบรนด์จีนเสริมสร้างภาพลักษณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะนอกเหนือจากการเป็นสปอนเซอร์โดยตรงแล้ว รัฐบาลจีนยังส่งหมีแพนด้าคู่ไปเป็นของที่ระลึกแก่รัฐบาลกาตาร์ไม่นานก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลกจะเริ่มคิกออฟ ซึ่งแสดงถึงความแนบแน่นระหว่างสองประเทศ ขณะเดียวกัน แบรนด์จีนยังปรากฏตัวผ่านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในทางอ้อมอีกด้วย

ไล่ตั้งแต่สนามกีฬาที่ใช้ในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูซาอิลสเตเดี้ยม (Lusail Stadium) ขนาด 80,000 ที่นั่งซึ่งใช้ในการแข่งขัน 10 นัดรวมทั้งนัดชิงแชมป์ด้วย ก็ถูกก่อสร้างโดยความร่วมมือระหว่างบริษัทก่อสร้างของกาตาร์ และไชน่าเรลเวย์คอนสตรั๊กชั่นคอร์ป (China Railway Construction Corp.) รัฐวิสาหกิจรายใหญ่ของจีน ระบบโทรคมนาคมของหัวเหว่ย (Huawei) เครื่องจักรเครื่องมือก่อสร้างของซานี่ (Sany) และเครื่องปรับอากาศจากมีเดียกรุ๊ป (Midea Group) ที่ติดตั้งในศูนย์บริการนับร้อยจุด 

จีนยังสนับสนุนการจัดฟุตบอลโลกสีเขียวด้วยระบบไฟฟ้าแสงสว่างและจอแอลอีดีความละเอียดสูงที่สว่างขึ้นแต่สร้างความร้อนต่ำในทุกสนามแข่งขันก็มาจากกลุ่มยูนิลูมิน (Unilumin Group) แห่งเซินเจิ้น (Shenzhen) มณฑลกวางตุ้ง รถบัสประจำทางพลังงานทางเลือกจำนวน 1,500 คันของคิงหลง (King Long) และหยู่ถง (Yutong) และโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โดยพาวเวอร์ไชน่า (PowerChina) 

รวมทั้งที่พักชั่วคราวที่แปรรูปจากตู้คอนเทนเนอร์จำนวน 10,000 หลัง รวมไปถึงราว 70% ของอุปกรณ์เสริม อาทิ ลูกฟุตบอล นกหวีด แตร และเสื้อทีม ก็ล้วนมี “ความเป็นจีน” ผูกโยงไว้ ซึ่งนำไปสู่โอกาสในการเสริมสร้าง “แบรนด์ประเทศจีน” ที่ดีเยี่ยมในอีกทางหนึ่ง 

แถมสิ่งเหล่านี้จะไม่จางหายไปอย่างรวดเร็วซะด้วย สเตเดี้ยม 974 (Stadium 974) ที่สร้างโดยกลุ่มไชน่าอินเตอร์เนชั่นแนลมารีนคอนเทนเทนเนอร์ (China International Marine Containers (Group)) จากเมืองเซินเจิ้น ที่นำคอนเทนเนอร์เกือบหนึ่งพันตู้ใช้แล้วมาเป็นองค์ประกอบในการก่อสร้างสนาม และจะถูกนำกลับไปใช้ใหม่ในอนาคต ขณะที่รถบัสประจำทางดังกล่าวก็ยังเป็นครั้งแรกที่รถยนต์พลังงานทางเลือกของจีนได้รับเลือกให้บริการในฟุตบอลโลก ซึ่งตอกย้ำความแข็งแกร่งของ “รถยนต์พลังงานทางเลือก” ของจีนในเวทีโลก


วงการกีฬาจีนสู่อุตสาหกรรมโลก (ตอน 6 ) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร


นอกจากนี้ แบ้งค์ชาติกาต้าร์ยังได้ตีพิมพ์ธนบัตรประเภท 10 ริยัล (Riyal) โดยมีรูปภาพวาดของสนามฟุตบอลลูซาอิลอยู่ที่ด้านหลัง และเป็นหนึ่งในของที่ระลึกที่ “คอบอล” อยากเก็บสะสม ขณะเดียวกัน เจ้าภาพยังสั่งทำของขวัญของที่ระลึกจำนวนมากออกมาจำหน่าย อาทิ โมเดลสนามฟุตบอลทั้ง 8 แห่ง ธงชาติ ผ้าพันคอ ตัวนำโชค “ลาอีบ” (La’eeb) ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เล่นที่มีทักษะสุดยอด” ก็ถูกออกแบบและผลิตในเมืองตงก่วน

ข้อมูลจากอาลีเอ๊กซ์เพรส (AliExpress) ระบุว่า ยอดขายสินค้าเหล่านั้นออนไลน์ก็ขยายตัวหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ในช่วงปลายปี เมื่อเทียบเดือนก่อน จึงไม่ต้องแปลกใจว่า ทำไมแบรนด์จีนจึงตกเป็นเป้าสายตาของชาวโลกและองค์การไม่แสวงหากำไร

ฟุตบอลโลกคราวต่อไปในปี 2026 จะไปจัดที่อเมริกาเหนือ เราต้องอดใจรอติดตามกันว่า ฟุตบอลโลกจะยังคงเปี่ยมไปด้วยพลังทางการตลาดหรือไม่ และแบรนด์เอเซียรายไหนบ้างที่จะลุยไปเป็นผู้สนับสนุน “ซุปเปอร์อีเว้นต์ ...

ข่าวแนะนำ