TNN online เมื่อจีนใช้โมเดล “เมืองในสวน” สร้างความเป็นเมืองน่าอยู่ (ตอน 2) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

TNN ONLINE

คอลัมนิสต์

เมื่อจีนใช้โมเดล “เมืองในสวน” สร้างความเป็นเมืองน่าอยู่ (ตอน 2) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

เมื่อจีนใช้โมเดล “เมืองในสวน” สร้างความเป็นเมืองน่าอยู่ (ตอน 2) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

เมื่อจีนใช้โมเดล “เมืองในสวน” สร้างความเป็นเมืองน่าอยู่ (ตอน 2) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน

คราวก่อนผมพาไปดูการพัฒนาโมเดล “เมืองในสวน” ของนครเฉิงตู ซึ่งยิ่งใหญ่อลังการมาก แต่วันนี้ผมจะไปชม “เมืองในสวน” ของเซี่ยงไฮ้ ที่เต็มไปด้วยความสร้างสรรค์กันครับ ...

เซี่ยงไฮ้ถือเป็นหัวเมืองใหญ่เป็นอันดับแรก ผู้บริหารระดับสูงของจีนหลายคนมักต้องผ่านประสบการณ์การบริหารงาน “เมืองหลวงทางเศรษฐกิจ” แห่งนี้ อาทิ จู หรงจี เจียง เจ๋อหมิน และสี จิ้นผิง แม้กระทั่ง หลี่ เฉียง ว่าที่นายกรัฐมนตรีของจีนคนถัดไป ก็ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำนครเซี่ยงไฮ้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา 

เซี่ยงไฮ้ยังเป็นเมืองยอดนิยมที่รัฐบาลจีนนิยมใช้นำร่องการดำเนินนโยบายและโครงการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ นิคมไฮเทค ศูนย์กลางการเงินระหว่างประเทศ เขตเสรีทางการค้า ชุมชน 15 นาทีเดิน และโมเดล “เมืองในสวน” ที่เรากำลังคุยกันอยู่นี้ก็เป็นอีกกรณีศึกษาหนึ่ง

เซี่ยงไฮ้ได้ร่างพิมพ์เขียวของโมเดล “เมืองในสวน” เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2015 โดยต่อยอดจากการเป็นเจ้าภาพจัดงานนิทรรศการโลก (World Expo) เมื่อปี 2010 ที่มีแนวคิดหลักในเรื่อง “ความยั่งยืน” เป็นทุนเดิมอยู่ 

โดยเซี่ยงไฮ้หันมาให้ความสนใจกับการเพิ่มพื้นที่สีเขียวกลางแจ้ง (Green Outdoor Space) โดยระบบได้ออกแบบพื้นที่สีเขียวหลัก (Green Core) พื้นที่สีเขียวกิ่ง (Green Axis) แถบสีเขียว (Green Belts) และ ก้านสีเขียว (Green Wedges) ที่ครอบคลุมใน 5 ส่วนสำคัญ อันได้แก่ 

  1. พื้นที่สีเขียวริมแม่น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่น้ำหวงผู่  (Huangpu River) และแม่น้ำซูโจว (Suzhou Creek) ที่พาดผ่านใจกลางนครแห่งนี้ (ไว้มีโอกาส ผมจะชวนทุกท่านไปคุยเรื่องการพัฒนาสายน้ำเหล่านี้กัน)
  2. พื้นที่สีเขียวเพื่อกิจกรรม เพื่อทดแทนลานปูนซีเมนต์ 
  3. พื้นที่สีเขียวตกแต่ง อาทิ ไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อความงดงามและกลุ่นหอม
  4. พื้นที่สีเขียวริมถนน ซึ่งเป็นลักษณะต้นไม้และสวนหย่อมริมทาง เพื่อให้ร่มเงาและอากาศที่บริสุทธิ์แก่ผู้คนที่ออกมาใช้ชีวิตกลางแจ้ง
  5. พื้นที่สีเขียวตามแนวอาคาร เพื่อทำให้ “ป่าคอนกรีต” ที่ส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณใจกลางเมืองดูสบายตายิ่งขึ้น

  6. เมื่อจีนใช้โมเดล “เมืองในสวน” สร้างความเป็นเมืองน่าอยู่ (ตอน 2) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

ภายหลังการออกแบบดังกล่าว เราได้เห็นเซี่ยงไฮ้ได้เดินหน้าปรับปรุงภูมิทัศน์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวผ่านสวนสาธารณะและกรีนเวย์หลากหลายขนาดและประเภท และรักษาความสะอาดและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ขนาดพื้นที่สีเขียวกลางแจ้งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนผู้คนสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้น 

ยิ่งเมื่อผู้นำจีนได้ประกาศเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมในเวทีการประชุมสุดยอดโลกร้อน เมืองต้นแบบอย่างเซี่ยงไฮ้ก็ใส่เกียร์เดินหน้าอย่างเต็มที่ จนมีสัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อพื้นที่โดยรวมของเซี่ยงไฮ้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

โดย ณ สิ้นปี 2021 เซี่ยงไฮ้มีสวนสาธารณะ 532 แห่ง จำแนกเป็นสวนสาธารณะขนาดเล็ก 103 แห่งที่แทรกตัวอยู่ระหว่างอาคารสูงและริมสองฝั่งถนน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เซี่ยงไฮ้มีสัดส่วนของสวนสาธารณะขนาดกลางและขนาดใหญ่กว่า 80% ของทั้งหมด 

เมื่อจีนใช้โมเดล “เมืองในสวน” สร้างความเป็นเมืองน่าอยู่ (ตอน 2) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

สวนสาธารณะขนาดเล็กเหล่านี้ถูกออกแบบและตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับ ทำให้เกิดความร่มรื่น และสบายตา ยังตามมาด้วยนก ผีเสื้อ กระรอก และสัตว์หลากชนิดเพื่อให้คนในพื้นที่สามารถไปศึกษาและเก็บเกี่ยวความงดงามที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา หลายแห่งยังเป็นสถานที่ยอดนิยมสำหรับคนในชุมชนที่มาจับกลุ่มเล่นไพ่ หมากรุก และหมากโกะ

ขณะเดียวกัน สวนสาธารณะขนาดใหญ่ในเซี่ยงไฮ้ก็มีมากมายหลายสไตล์และปลูกต้นไม้ดอกไม้นานาชนิด อาทิ ทุ่งดอกทานตะวันที่สวนพฤษศาสตร์เฉินซาน (Chenshan Botanical Garden) ในเขตซงเจียง พืชสวนนานาชนิดที่สวนพฤษศาสตร์เซี่ยงไฮ้ (Shanghai Botanical Garden) ในเขตสวีฮุ่ย ทุ่งดอกเก็กฮวยหลากสี และดอกไม้นานาพันธุ์กว่า 500 ชนิดในสวนป่ากงฉิง (Gongqing Forest Park) ในเขตหยางผู่ และไร่ส้มที่อุทยานฉางซิง (Changxing Island Country Park) ที่เกาะฉงหมิง ทางตอนเหนือของเซี่ยงไฮ้

เมื่อจีนใช้โมเดล “เมืองในสวน” สร้างความเป็นเมืองน่าอยู่ (ตอน 2) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

สวนสาธารณะเหล่านี้ยังถูกใช้เป็นเวทีในการนำเสนอกิจกรรมกีฬาและวัฒนธรรม อาทิ ดนตรีและงานศิลป์ อีกด้วย โดยในชั้นนี้ สวนสาธารณะเกือบ 300 แห่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่สามารถรองรับกิจกรรมฟิตเนสและกีฬา อาทิ บาสเกตบอล ฟุตบอล เทนนิส และพื้นที่เล่นกล้าม และลานรำไทเก็ก (Tai Chi) ที่คนจีนนิยมใช้ในยามเช้า รวมทั้งการตั้งแค้มป์ที่กำลังเป็นที่นิยมของครอบครัวและหนุ่มสาวจีน

สภาพอากาศที่ดีและความงดงามของธรรมชาติในช่วงที่ดอกไม้เหล่านี้ผลิบาน ทำให้รัฐบาลท้องถิ่นใช้จังหวะโอกาสนี้จัดเทศกาลดอกไม้ควบคู่ไปกับกิจกรรมพิเศษอื่น อาทิ งานแสดงสินค้า เทศกาลอาหาร ของขวัญของที่ระลึก เทศกาลดนตรี และกิจกรรมด้านการเกษตร ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจจากคนในเมืองใกล้เคียงได้เป็นอันมาก จนกลายเป็นกิจกรรมประจำปีที่ทุกคนรอคอยการกลับมา

เมื่อจีนใช้โมเดล “เมืองในสวน” สร้างความเป็นเมืองน่าอยู่ (ตอน 2) โดย ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

ประการสำคัญ ผู้คนสามารถพักผ่อนในสวนสาธารณะใกล้บ้านแบบไม่สิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่าย เพราะรัฐบาลถือเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่รัฐบาลในพื้นที่จัดหาให้คนท้องถิ่น สวนสาธารณะเหล่านี้ส่วนใหญ่จึงไม่เก็บค่าผ่านประตู หรือเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในอัตราที่ต่ำมาก และมีโครงข่ายรถไฟใต้ดิน และรถบัสประจำทาง รวมทั้งถนนและทางด่วนพาดผ่าน

ภายใต้โมเดล “เมืองในสวน” กรีนเวย์ก็เป็นแนวทางอีกส่วนหนึ่งที่นิยมใช้ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยที่ผ่านมา เซี่ยงไฮ้ได้เพิ่มกรีนเวย์ที่เต็มไปด้วยต้นไม้และดอกไม้นานาพันธุ์มาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน พื้นที่กรีนเวย์ในเซี่ยงไฮ้มีระยะทางราว 1,300 กิโลเมตรในปัจจุบัน 

กรีนเวย์จำนวนมากได้ถูกก่อสร้างขึ้นรวมระยะทางราว 20 กิโลเมตรในบริเวณสองฝั่งแม่น้ำซูโจวและหวงผู่พาดผ่าน ไม่ว่าจะเป็นเขตหวงผู่ หงโข่ว สวีฮุ่ย และผู่ตงในเซี่ยงไฮ้

กรีนเวย์ยังได้ถูกออกแบบและก่อสร้างเส้นทางภายในที่แยกออกเป็นลู่วิ่ง-ลู่เดิน และลู่จักรยาน เพื่อลดอุบัติเหตุและความเสี่ยงจากการใช้ลู่ที่มีความเร็วต่างกัน ทำให้เราเห็นคนในพื้นที่ใกล้เคียงออกมาใช้ชีวิตและออกกำลังกายในช่วงเช้าและช่วงเย็นกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นการปรับสู่การรักษาพยาบาล “เชิงป้องกัน” ในอีกวิธีหนึ่ง และช่วยให้คนจีนมีสุขภาพดีขึ้นไปพร้อมกัน

ทั้งนี้ บนความยาว 8.3 กิโลเมตรของกรีนเวย์ริมแม่น้ำหวงผู่ ซึ่งถือเป็น “กรีนเวย์หมายเลข 1 ของนครเซี่ยงไฮ้” ได้ถูกออกแบบเพื่อสร้างสีสันไว้ถึง 7 แบบ เมื่อผนวกกับลู่เดิน-วิ่ง-จักรยานพาดผ่านพื้นที่ในใจกลางเมือง ก็ส่งผลให้กรีนเวย์แห่งนี้ถือเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจยอดนิยมของคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว

คราวหน้าผมจะพาไปเจาะลึกกันว่า เซี่ยงไฮ้วางแผนที่จะต่อยอดโมเดล “เมืองในสวน” ไว้อีกกี่มากน้อย อย่างไร และจะมีเมืองไหนอีกบ้างที่จะนำเอาโมเดลนี้ไปขยายผลในอนาคต ...

ภาพจาก  :  AFP

ข่าวแนะนำ