TNN online อัปเดตความคืบหน้าของ CBDC ในต่างประเทศ วิเคราะห์โดย Zipmex

TNN ONLINE

คอลัมนิสต์

อัปเดตความคืบหน้าของ CBDC ในต่างประเทศ วิเคราะห์โดย Zipmex

อัปเดตความคืบหน้าของ CBDC ในต่างประเทศ  วิเคราะห์โดย  Zipmex

อัปเดตความคืบหน้าของ CBDC ในต่างประเทศ วิเคราะห์โดย กีรติ เตชะพุทธพงศ์ Research Specialist Zipmex

ก่อนหน้านี้ Zipmex ได้เคยนำเสนอบทความเกี่ยวกับ Central Bank Digital Currency (CBDC) โดยเคยได้กล่าวถึง CBDC ในเชิงที่เกี่ยวกับแนวคิดและความคาดหวังว่าระบบนี้จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบการเงินเดิมที่มีอยู่อย่างไรได้บ้าง ซึ่งในบทความนี้จะมาดูกันว่าโปรเจกต์ CBDC ของธนาคารกลางในประเทศต่าง ๆ ดำเนินไปถึงขั้นตอนใด และมีความคืบหน้าอะไรที่น่าสนใจเพิ่มเติม


พัฒนาการเกี่ยวกับ CBDC ของธนาคารกลางในต่างประเทศ

ก่อนอื่นขอทบทวนคร่าว ๆ ว่าแนวคิด Retail CBDC ของธนาคารกลางนั้น เป็นการออกสกุลเงินดิจิทัลโดยธนาคารกลางเพื่อลดการใช้เงินสดทั้งในภาคประชาชน และภาคธุรกิจ ซึ่งระบบดังกล่าวส่งผลให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงบริการชำระเงินที่มีความปลอดภัย เข้าถึงง่าย รวดเร็ว มีเสถียรภาพ น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้ นอกจากนั้น ยังช่วยป้องกันปัญหาการผูกขาดของผู้ให้บริการทางการเงินของภาคเอกชน และลดความเสี่ยงจากสกุลเงินดิจิทัลที่เอกชนเป็นผู้ออก เช่น การสูญเสียมูลค่า ความน่าเชื่อถือ และระดับการยอมรับที่มีต่อสกุลเงินดิจิทัล เนื่องจากธนาคารกลางเป็นสถาบันที่มีความมั่นคงกว่า และมีสภาพคล่องสูงสุด ซึ่งขณะนี้ Retail CBDC เปิดตัว และได้รับการพัฒนาแล้วในหลาย ๆ ประเทศ 


  อัปเดตความคืบหน้าของ CBDC ในต่างประเทศ  วิเคราะห์โดย  Zipmex

(https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256501Theknowledge.aspx)


สหรัฐอเมริกา

  อัปเดตความคืบหน้าของ CBDC ในต่างประเทศ  วิเคราะห์โดย  Zipmex

(https://www.nytimes.com/2022/05/05/business/dealbook/fed-inflation-economy.html)


ตามรายงานการวิจัยของธนาคารกลางสหรัฐ (The Federal Reserve: Fed) ที่เผยแพร่เมื่อเดือน มกราคม 2022 ได้ระบุว่า Fed ได้มีการทดลองเชิงเทคนิคของ CBDC ในหลายด้าน ดังนี้


    มีการตั้งสมมุติฐานด้านการนำเทคโนโลยี และระบบที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์: The Board’s Technology Lab ได้ประเมินศักยภาพของการออกแบบ CBDC แบบรวมศูนย์ (Centralized) ที่ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐาน และเทคโนโลยีที่มีอยู่

    สำรวจรูปแบบการนำ CBDC ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น บล็อกเชน: Federal Reserve Bank of Boston ได้ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ผ่าน Digital Currency Initiative เพื่อสำรวจการพัฒนาแพลตฟอร์มทางเลือกอื่น ๆ

    พิจารณาการใช้เทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger) สำหรับการชำระเงินแบบค้าส่ง: The Board’s Technology Lab ได้ศึกษาว่าเทคโนโลยี Distributed Ledger สามารถรองรับการชำระดุลระหว่างธนาคารได้ด้วยวิธีใด

    ปรับปรุงบริการที่มีอยู่เพื่อรองรับสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยเอกชน: Board’s Technology Lab ศึกษาการใช้ API เพื่อรองรับการออก, จัดสรร และใช้งานสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยเอกชน



นอกจากนั้นยังมีการวิจัยทางด้านเศรฐกิจ และนโยบาย โดยเน้นไปที่การเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial Inclusion) และเสถียรภาพทางการเงินผ่านความร่วมมือเชิงวิชาการ ที่พิจารณาถึงรูปแบบ CBDC ที่สามารถรองรับการเข้าถึงบริการทางการเงินของทุกภาคส่วนได้ โดยเน้นระบบที่ประชากรที่เป็นกลุ่มผู้ใช้เงินสด และกลุ่มเสี่ยงจะสามารถเข้าถึง และได้รับประโยชน์จากการชำระเงินดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย 



ยิ่งไปกว่านั้น ในแง่ของนโยบาย ได้มีการศึกษาถึงประเด็นด้านสกุลเงินดิจิทัล, ความเป็นส่วนตัว และผลกระทบของนโยบายการเงินสำหรับ CBDC และสินทรัพย์ดิจิทัลที่ออกโดยเอกชนอีกด้วย ซึ่ง Fed ได้มีการประชุมหารือกับภาคเอกชน, ธนาคารกลางต่างประเทศ และนักวิชาการ เพื่อยกระดับความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของตลาด และเพื่อให้ภาคเอกชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางวิชาการเข้าใจในเนื้อหาที่ Fed กำลังพิจารณาเกี่ยวกับ CBDC ได้ดียิ่งขึ้นในความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการชำระบัญชี และนวัตกรรมการเงิน



สหภาพยุโรป

  อัปเดตความคืบหน้าของ CBDC ในต่างประเทศ  วิเคราะห์โดย  Zipmex

(https://www.politico.eu/article/eu-court-decision-waives-ecb-officials-criminal-immunity/)


ธนาคารกลางยุโรป  (European Central Bank: ECB) ได้ออก Occasional Paper ว่าด้วยเรื่อง สกุลเงินยูโรดิจิทัลของธนาคารกลาง และการเป็นตัวกลางของธนาคาร (Central Bank Digital Currency and Bank Intermediation) ในเดือนพฤษภาคม 2022 ได้ระบุว่าที่ผ่านมาธนาคารกลางได้ศึกษา และพิจารณาถึงข้อได้เปรียบ และผลกระทบของ CBDC ซึ่งยังอยู่ในระยะค้นคว้าข้อมูลสำหรับฟีเจอร์ของยูโรดิจิทัล และด้านกฎระเบียบที่วางอยู่พื้นฐานของความโปร่งใส และความเชื่อมั่นจากภาคประชาชน โดยหวังให้เกิดการยอมรับในวงกว้าง



อย่างไรก็ตาม Centre for European Reform (CER) หนึ่งใน Think Tank ของสหภาพยุโรป ได้จัดทำบทวิเคราะห์เกี่ยวกับ CBDC ของ ECB ที่เผยแพร่เมื่อ วันที่ 7 มิถุนายน 2022 ได้วิเคราะห์ถึง CBDC ว่าจะเป็น “ความล้มเหลวราคาแพง” ของสหภาพยุโรป และเป็นประโยชน์เพียงเล็กน้อยต่อเป้าหมายของธนาคารกลาง ถ้าธนาคารกลางไม่สามารถเสนอผลตอบแทนที่น่าดึงดูดแก่ผู้บริโภคได้เหมือนกับภาคเอกชน เนื่องจากประเด็นด้านความปลอดภัยยังไม่ใช่ข้อเสนอที่น่าสนใจที่จะสร้างการยอมรับในวงกว้างได้ สำหรับสหภาพยุโรป มีเพียงการออกกฎระเบียบเพื่อให้การชำระเงินในยุโรปมีต้นทุนต่ำลง, มีความหลากหลายมากขึ้น, ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขัน และการสร้างนวัตกรรมเท่านั้นที่ดูสมเหตุสมผล



สาธารณรัฐประชาชนจีน

  อัปเดตความคืบหน้าของ CBDC ในต่างประเทศ  วิเคราะห์โดย  Zipmex

(https://www.lowyinstitute.org/the-interpreter/china-s-digital-currency-takes-shape#:~:text=The%20country's%20new%20Digital%20Currency,to%20completely%20replace%20physical%20cash.)



จีนเป็นประเทศแรก ๆ ที่มีการผลักดัน และพัฒนา CBDC จีนมีโปรเจกต์ Digital Currency Electronic Payments (DCEP) เพื่อที่จะลดการใช้ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ และเป็นกลไกในการป้องกันการผูกขาด, การฟอกเงิน, การเลี่ยงภาษี และอาชญากรรมทางการเงินต่าง ๆ โดยผลักดันการใช้งาน e-CNY หรือ หยวนดิจิทัลเพื่อนำร่องในเมืองใหญ่ ๆ แล้ว ได้แก่ เซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น เฉิงตู และอีกหลายหลากเมือง ซึ่งรัฐบาลจีนได้เปิดตัวแอปพลิเคชันกระเป๋าเงินดิจิทัลสำหรับชำระเงินในรูป e-CNY โดยที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการยืนยันธุรกรรมจากธนาคาร หรือบริษัทบัตรเครดิต เป็นการลดเวลา และตัดค่าธรรมเนียมธุรกรรมออกไป



ธนาคารกลางจีนเผยว่า ในปี 2021 มีการทำธุรกรรมของหยวนดิจิทัลมากกว่า 87.6 พันล้านหยวน และมีการเปิดใช้งานกระเป๋าเงินดิจิทัลแล้วกว่า 261 ล้านราย นอกจากนั้น การใช้หยวนดิจิทัลยังเพื่อเป็นการยกระดับความโปร่งใส และประสิทธิภาพของนโยบายของรัฐบาล เช่น เมื่อรัฐบาลออกมาตรการเยี่ยวยา ประชาชนจะได้รับหยวนดิจิทัลโดยตรงจากธนาคารกลางเข้าไปที่กระเป๋าเงินดิจิทัลโดยไม่ต้องผ่านหน่วยงานอื่นก่อนถึงมือประชาชน เป็นต้น และยังมีแผนการนำหยวนดิจิทัลไปใช้เพื่อการจ่ายเงินบำนาญ, เงินอุดหนุนต่าง ๆ จากรัฐบาล และค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานในอนาคตอีกด้วย



ยังมีประเทศอื่น ๆ ที่นำ Retail CBDC มาใช้อย่างเป็นทางการแล้ว และมีอีกหลายประเทศที่ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาระบบนี้อยู่ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยก็กำลังพัฒนาโปรเจกต์นี้อยู่เช่นกัน กล่าวคือ CBDC นั้นไม่เพียงแต่เน้นการทำธุรกรรมภายในประเทศเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อมีการพัฒนาไปถึงขั้นที่สามารถใช้เงินสกุลดิจิทัลของแต่ละประเทศชำระเงินระหว่างผู้ใช้ในระดับระหว่างประเทศได้แล้ว อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านการแข่งขันระหว่างประเทศ เนื่องจากสินค้าที่อิงมูลค่าดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงได้อีกด้วย 



ข้อมูลจาก : กีรติ เตชะพุทธพงศ์ Research Specialist Zipmex https://zipmex.com/th/

ภาพจาก : AFP

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง