TNN online (คลิป) เผยภาพแรกของ "หลุมดำ" ใจกลางทางช้างเผือก

TNN ONLINE

รายการ TNN

(คลิป) เผยภาพแรกของ "หลุมดำ" ใจกลางทางช้างเผือก

(คลิป) เผยภาพแรกของ หลุมดำ ใจกลางทางช้างเผือก

นักวิทยาศาสตร์เผยภาพแรกของหลุมดำ ณ ใจกลางทางช้างเผือกในวันพฤหัสบดี โดยใช้เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุ อีเวนต์ ฮอริซอน เทเลสโคป (Event Horizon Telescope) หรือ EHT นับเป็นครั้งแรกที่สามารถบันทึกภาพหลุมดำมวลยิ่งยวด (supermassive black hole) ณ ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก



เป็นหลักฐานสำคัญที่สุดที่ยืนยันว่า มีหลุมดำมวลยิ่งยวดอยู่บริเวณใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก การค้นพบครั้งนี้ช่วยให้นักดาราศาสตร์เข้าใจเกี่ยวกับหลุมดำมวลยิ่งยวดมากขึ้น และผลลัพธ์ที่ได้ตรงกับที่ทำนายเอาไว้โดยทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์


ภาพที่เห็นอยู่นี้ คือภาพแรกของหลุมดำ “Sagittarius A*” (แซจิแทเรียส เอ สตาร์) หรือเรียกสั้นๆ ว่า Sgr A* ซึ่งเป็นหลุมดำมวลยิ่งยวด ณ ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก


นักดาราศาสตร์ค้นพบแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุปริศนา จากบริเวณใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก ในตำแหน่งของกลุ่มดาวคนยิงธนูมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933 ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ  “Sagittarius A*” ต่อมาได้มีการค้นพบหลักฐานชัดเจนยิ่งขึ้น ที่บ่งชี้ว่า ดาวฤกษ์และแก๊สร้อนที่โคจรรอบวัตถุนี้ มีความเร็วสูงมากจนวัตถุนี้จะต้องมีแรงโน้มถ่วงมหาศาล ที่อยู่ภายในปริมาตรที่น้อยมาก ๆ


“หลุมดำ” เป็นวัตถุปริศนาที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก แม้กระทั่งแสงก็ไม่สามารถหนีออกมาจากแรงโน้มถ่วงของหลุมดำได้ ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถสังเกตเห็นหลุมดำได้โดยตรง แต่เราก็สามารถสังเกตเห็นแก๊สร้อนที่สว่าง ในขณะที่พวกมันกำลังค่อยๆ ตกลงสู่หลุมดำได้ ปรากฏเป็น “วงแหวน” สว่างล้อมรอบ “เงา” สีดำ ซึ่งเป็นบริเวณอันมืดมิดที่รายล้อม “ขอบฟ้าเหตุการณ์” ของหลุมดำ ทำให้แสงไม่สามารถเดินทางออกมาได้


สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การสังเกตการณ์ Sgr A* เป็นไปได้ยากมาก เนื่องมาจากขนาดที่อัดแน่น และระยะห่างที่ไกลออกไปของหลุมดำนี้ แม้ว่า Sgr A* จะมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 4 ล้านเท่า แต่มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์เพียงแค่ 31 เท่า เทียบกันแล้วหลุมดำขนาดยักษ์นี้มีขนาดเล็กกว่าวงโคจรของดาวพุธรอบดวงอาทิตย์


ข่าวแนะนำ