TNN online (คลิป) “เดลตาครอน”โควิดลูกผสมจริง ไซปรัสยัน“ไม่ใช่ปนเปื้อน”

TNN ONLINE

รายการ TNN

(คลิป) “เดลตาครอน”โควิดลูกผสมจริง ไซปรัสยัน“ไม่ใช่ปนเปื้อน”

(คลิป) “เดลตาครอน”โควิดลูกผสมจริง ไซปรัสยัน“ไม่ใช่ปนเปื้อน”

นักระบาดวิทยาไซปรัส ยืนยันยันการค้นพบโควิด กลายพันธุ์ 'เดลตาครอน' ซึ่งคาดว่า เป็นสายพันธุ์ลูกผสมระหว่าง "โอไมครอน" กับ "เดลตา"เป็นของจริง ไม่ใช่การปนเปื้อนสายพันธุ์ในห้องปฏิบัติการตามที่นักวิทยาศาสตร์หลายคนออกมาให้ความเห็น


   สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานอ้าง ลีโอไนดอส โคสไตรคิส ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยา มหาวิทยาลัยไซปรัส นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบเชื้อไวรัสโควิด-19สายพันธุ์ลูกผสม "เดลตาครอน" ที่ออกมายืนยันว่า การค้นพบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาครอนนั้นเป็นเรื่องจริงและไม่ได้เป็นผลของการ "ปนเปื้อน" ในห้องแล็บอย่างที่นักวิทยาศาสตร์หลายคนออกมาให้ข่าวก่อนหน้านี้แต่อย่างใด


 โคสไตรคิส ยืนยันว่า ตนพบกระบวนการกดดันทางวิวัฒนาการ (evolutionary pressure) ที่เกิดขึ้นกับเชื้อสายพันธุ์ตั้งต้นทำให้เกิดการกลายพันธ์ และไม่ใช่ผลของการรวมกันของยีนที่ทำให้เกิดสายพันธุ์ลูกผสมเพียงเหตุการณ์เดียว นอกจากนี้ เดลตาครอน ยังพบมากใหม่ในกลุ่มผู้ติดเชื้อที่รักษาตัวในโรงพยาบาล มากกว่ากลุ่มผู้ติดเชื้อที่ไม่ได้รักษาตัวในโรงพยาบาลจึงตัดข้อสันนิษฐานเรื่องการปนเปื้อนไปได้ นอกจากนี้ตัวอย่างยังถูกส่งไปตรวจสอบในหลายประเทศ และอย่างน้อยหนึ่งตัวอย่างจากอิสราเอลก็พบลักษณะทางพันธุกรรมของ "เดลตาครอน" อยู่ด้วย  สำหรับเชื้อลูกผสม "เดลตาครอนที่พบ ไม่ใช่เกิดการกลายพันธุ์ในประเทศแต่เป็นการนำเข้า มาจากผู้เดินทางมายังสนามบิน


 ศาสตราจารย์ลีออนดิออส คอสตรีกิส กล่าวว่า ขณะนี้ พบการติดเชื้อ 25 ราย ในจำนวนทั้งหมดนี้ พบว่ามี 11 ราย ที่แสดงอาการซึ่งต้องเข้ารับรักษาที่โรงพยาบาล หรือคิดเป็น 44% ที่มีอาการและต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในขณะที่ 14 คนไม่มีอาการใด ๆ แต่ยังเร็วเกินไป ที่จะระบุในเบื้องต้นว่า สายพันธุ์ใหม่ "เดลตาครอน" มีศักยภาพในการแพร่กระจายเชื้อรวดเร็วอย่างไร หรือจะมีผลกระทบมากน้อยแค่ไหน เชื้อกลายพันธุ์ใหม่นี้ รายละเอียดเบื้องต้น   ปรากฎว่าเป็นการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม 10 จุด ที่คล้ายกับสายพันธุ์ "โอไมครอน" แต่เกิดอยู่ภายในพันธุกรรมของสายพันธุ์ "เดลตา"

/การออกมายืนยันอีกครั้งของ ศาสตราจารย์ลีออนดิออส คอสตรีกิส เกิดขึ้นหลังจาก ดร.ทอม พีค็อก นักไวรัสวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ  ลอนดอน สหราชอาณาจักร ได้ส่งข้อความบนทวิตเตอร์ส่วนตัวว่า การค้นพบดังกล่าว มีความเป็นได้สูงที่จะเกิดจากการปนเปื้อนระหว่างสายพันธุ์ "เดลตา" และสายพันธุ์ "โอไมครอน" ภายในห้องปฏิบัติการ โดยให้เหตุผลเป็นการนำข้อมูลมาสร้างเป็นแผนภูมิวิวัฒนาการ ทั้งนี้ ดร.ทอม พีค็อก อ้างว่า ตัวอย่างทั้งหมดไม่ได้มาจากคลัสเตอร์เดียวกัน


นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ หรือ "หมอเฉลิมชัย" รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ระบุว่า  ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อ "เดลตาครอน" หรือ Deltacron ว่า ยังต้องรอผลตรวจสอบ จึงจะสรุปได้ ถ้าเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่จริง ก็จะต้องติดตามเก็บข้อมูลต่อไปว่า กระทบกับ 3 มิติทางด้านสาธารณสุขหรือไม่ ถ้าไวรัสสายพันธุ์ใหม่นั้น มีผลกระทบกับมิติทางด้านสาธารณสุขแล้ว จึงจะมีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการอักษรกรีกว่า "พาย": Pi"  ซึ่งต่อจาก "โอไมครอน

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง