TNN online “หมูเถื่อน” เรื่องคาใจ..คนร้ายและของกลางที่หายไป

TNN ONLINE

กิจกรรม&ข่าวประชาสัมพันธ์

“หมูเถื่อน” เรื่องคาใจ..คนร้ายและของกลางที่หายไป

“หมูเถื่อน” เรื่องคาใจ..คนร้ายและของกลางที่หายไป

“หมูเถื่อน” เรื่องคาใจ..คนร้ายและของกลางที่หายไป

ช่วงนี้ขอเป็นสุนัขเฝ้าบ้าน (Watchdog) ติดตามกรณี “หมูเถื่อน” สบช่องย่องเข้าไทยสักระยะหนึ่ง จนกว่าจะแน่ใจว่าคนไทยได้บริโภคอาหารปลอดภัยจากสารเร่งเนื้อแดงและเนื้อหมูติดโรค ASF อย่างแท้จริง เพราะถึงจะยืนยันว่าหมูติดโรครับประทานได้ แล้วจะกล้าเสี่ยงกินกันหรือไม่ นอกจากนี้ การทำงานของกรมศุลกากรและกรมปศุสัตว์ โต้โผใหญ่ในการปราบปรามการลักลอบนำเข้าเหมือนมหัศจรรย์เขาวงกต(Labyrinth) รู้สึกว่าหมูเถื่อนยังถูกนำมาวนเวียนขายภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง ที่จับก็จับกันไปให้สังคมเห็นพอเป็นพิธี เมื่อถามทั้ง 2 กรมว่าเมื่อไหร่หมูเถื่อนจะหมดไป กลับไม่มีคำตอบ...  “หมูเถื่อน” เรื่องคาใจ..คนร้ายและของกลางที่หายไป

สืบเนื่องจากข่าววันที่ 31 สิงหาคม 2565 รัฐบาลโชว์ผลการปฏิบัติงานของกรมปศุสัตว์ช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2565 รายงานว่า มีการตรวจสอบการลักลอบนำเข้าจำนวน 2,425 ครั้ง (เท่ากับเข้าตรวจ 11-12 ครั้งต่อวัน...ไม่แน่ใจวิธีการนับครั้งนับอย่างไร ตามทฤษฎีความน่าจะเป็น หรือ Probability แทบเป็นไปไม่ได้) แจ้งความดำเนินคดี 13 คดี (ร่วมกับศุลกากร 3 คดี) ยึดและดำเนินการทำลายซากสุกร 325,027 กิโลกรัม มูลค่าของกลางกว่า 65 ล้านบาท เห็นจำนวนคดีที่ผิดกฎหมายแล้วแค่ 0.54% ไม่ถึง 1% ด้วยซ้ำ (ตัวเลขต่ำผิดปกติ) “หมูเถื่อน” เรื่องคาใจ..คนร้ายและของกลางที่หายไป ด้านเกษตรกร เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2565 ในวันแถลงข่าวร้องภาครัฐตรวจจับหมูเถื่อน ระบุว่า หมูเถื่อน บรรจุเป็นกล่องมาในตู้คอนเทนเนอร์ ต้นทางมาจากประเทศเยอรมนี สเปน ส่วนใหญ่มาขึ้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง พร้อมทำเอกสารสำแดงเท็จระบุเป็นปลา เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจโรคระบาดและการขอใบอนุญาตขนย้ายซากสัตว์จากกรมปศุสัตว์ เมื่อนำเข้ามาแล้วก็กระจายนำไปฝากห้องเย็นเดือนละไม่ต่ำกว่า 1,000 ตู้ ทั้งที่จังหวัดสมุทรสาคร นครปฐม สมุทรปราการ และห้องเย็นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สงสัยจริงๆ เกษตรกรรู้แต่หน่วยงานภาครัฐไม่เห็น? ที่สำคัญหมูเถื่อนเหล่านี้จำหน่ายในราคาต่ำประมาณ กก.ละ 135-145 บาท และยังพบว่า มีโรงเชือดซื้อหมูเนื้อแดงเถื่อน ไปสวม “ใบอนุญาต” ส่งขาย มีกำไรดีกว่ารับซื้อหมูจากเกษตรกรไปเชือดเอง “หมูเถื่อน” เรื่องคาใจ..คนร้ายและของกลางที่หายไป

ภาระสาหัสตกกับเกษตรกรขายหมูมีชีวิตหน้าฟาร์ม 104-110 บาท/กก. เมื่อซื้อหมูมาเข้าโรงเชือด จะมีต้นทุนค่าเชือดต่างๆ จะตกประมาณ 200-210 บาท ซึ่งในหมู 1 ตัว มีเนื้อแดงเพียง 50-55% ที่เหลือเป็นเครื่องใน ขณะที่ราคาหมูเนื้อแดงในตลาดแต่ละภาคขายเฉลี่ยประมาณ 170-230 บาท/กก. ดังนั้นการที่โรงเชือดซื้อหมูเนื้อแดงเถื่อนมาสวมใบอนุญาตจึงได้กำไรดีกว่า ไม่ต้องถัวเฉลี่ยราคาเครื่องในที่ขายได้ในราคาต่ำ หมายความว่าหมูของเกษตรกรไทยขายไม่ออก “หมูเถื่อน” เรื่องคาใจ..คนร้ายและของกลางที่หายไป

“หมูเถื่อน” ไม่ควรจะเล็ดลอดเข้ามาในไทยได้ ถ้าเพชรฆาตอย่างกรมศุลกากรและกรมปศุสัตว์ร่วมมือกัน เดินหน้าจับทุกวันๆละ 1 ครั้ง หรือ1 เคส สัปดาห์ละ 5 วัน เท่ากับ 1 ปี จะมีการเข้าตรวจสอบ 256 ครั้ง (หักวันหยุดปกติ และวันหยุดราชการ แบบนี้ความน่าจะเป็นสูงมาก) ใช้เทคโนโลยีตรวจสอบที่ทันสมัยที่มีอยู่ให้เต็มประสิทธิภาพ ก็น่าจะจับได้ตั้งแต่ที่ด่านศุลกากรทุกพื้นที่ แบบว่าทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ไม่ต้องรอให้รถลากหมูเถื่อนออกจากด่านฯไป ข้ามชายแดนไทยไป แล้วส่งคนไทยไปลากรถคันเดิมกลับเข้ามา สูญเสียทั้งเวลา ทรัพยากร และเศรษฐกิจประเทศแบบนี้

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง