TNN online กรมศุลกากร ว่าไง?...ปปช. รับเรื่องร้องเรียน หมูเถื่อน ทะลัก “ท่าเรือแหลมฉบัง”

TNN ONLINE

กิจกรรม&ข่าวประชาสัมพันธ์

กรมศุลกากร ว่าไง?...ปปช. รับเรื่องร้องเรียน หมูเถื่อน ทะลัก “ท่าเรือแหลมฉบัง”

กรมศุลกากร ว่าไง?...ปปช. รับเรื่องร้องเรียน หมูเถื่อน ทะลัก “ท่าเรือแหลมฉบัง”

กรมศุลกากร ว่าไง?...ปปช. รับเรื่องร้องเรียน หมูเถื่อน ทะลัก “ท่าเรือแหลมฉบัง”

“ท่าเรือแหลมฉบัง” เป็นหนึ่งในช่องทางหลักที่คาดว่า “หมูเถื่อน” ถูกทยอยลำเลียงเข้ามาในประเทศไทย และหลบหลีกการตรวจจับด้วยการปลอมแปลงเอกสารสำแดงเท็จเป็นอาหารทะเลและอาหารสัตว์ ปลอมตัวเข้าไทยได้อย่างแนบเนียน แม้แต่เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรและเครื่องสแกนด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ยังตรวจไม่พบสิ่งของผิดกฎหมายอย่างไม่น่าเชื่อ  เพราะไม่มีแม้แต่ครั้งเดียวที่ตรวจจับหมูเถื่อนได้ตั้งแต่เรือเข้าท่า หรือให้เข้าใจง่าย คือ ไม่เคยจับของกลางได้คาท่าเรือเลย  แต่ออกไปจับกุมได้ที่ห้องเย็นบ้าง หรือขณะเคลื่อนย้ายสินค้าบ้าง กลายเป็นเรื่องคาใจของผู้เลี้ยงหมูและสังคมที่จับตาดูการทำงานภาครัฐว่าปราบปรามจริงจังตามกฎหมาย อย่างที่เคยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนจริงหรือ? กรมศุลกากร ว่าไง?...ปปช. รับเรื่องร้องเรียน หมูเถื่อน ทะลัก “ท่าเรือแหลมฉบัง”

ล่าสุดวันที่ 29 กันยายน 2565 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) รับหนังสือร้องเรียนจากกลุ่มเกษตรกรตัวแทนชมรมผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เดินทางเข้ายื่นหนังสือ เพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งกรมศุลกากรและกรมปศุสัตว์ในการปราบปรามขบวนการหมูเถื่อน ซึ่งไม่เคยเปิดเผยรายชื่อผู้กระทำผิดทั้งที่สามารถเชื่อมโยงไปถึงบริษัทผู้นำเข้าได้ไม่ยาก ขณะที่หมูเถื่อนยังคงมีวางขายปะปนกับหมูไทยในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ สร้างความเดือดร้อนแก่เกษตรกร ส่งผลให้ทั้ง 2 กรม ถูกจับตาจากสังคมทันที


ย้อนกลับไปดูข่าวการจับกุม “หมูเถื่อน” ของกรมศุลกากร แค่เดือนกันยายนที่ผ่านมา กรมฯ แถลงข่าวเมื่อวันที่  19 กันยายน 2565 ว่าเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนปราบปรามเคลื่อนที่เร็วกองสืบสวนและปราบปราม จับกุมเนื้อสุกรลักลอบนำเข้า เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2565  โดยตรวจสอบรถยนต์บรรทุกพ่วง จำนวน 2 คัน บริเวณถนนซอยกิ่งแก้ว 25/1 ต.ราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ แต่ไม่พบเอกสารเกี่ยวกับการผ่านพิธีการศุลกากร เอกสารใบอนุญาตนำเข้าหรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง น้ำหนักประมาณ 23,000 กิโลกรัม รวมมูลค่าประมาณ 5,000,000 บาท และวันที่ 16 กันยายน 2565 เจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรสงขลา ได้ตรวจค้นยานพาหนะรถยนต์บรรทุก 12 ล้อ พบเนื้อสุกรแช่แข็งนำเข้าจากต่างประเทศจำนวนประมาณ 12,000 กิโลกรัม รวมมูลค่าประมาณ 2,340,000 บาท และไม่พบเอกสารเช่นเดียวกับกรณีข้างต้น กรมศุลกากร ว่าไง?...ปปช. รับเรื่องร้องเรียน หมูเถื่อน ทะลัก “ท่าเรือแหลมฉบัง”

เกิดคำถามจากหลักฐานการจับกุมว่า ก่อนจะเกิดการเคลื่อนย้ายหมูเถื่อนทั้ง 2 กรณี หมูผิดกฎหมายเหล่านี้เข้ามาในประเทศไทยได้อย่างไร ตรวจสอบอย่างไรจึงไม่เจอ กระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นต้นสังกัดกรมศุลกากร ควรดำเนินการตรวจสอบกรมฯ ว่า “บกพร่องในหน้าที่อย่างไร” จึงปล่อยให้สินค้าลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก 


ที่น่าจับตาอีกเรื่องคือ หมูเถื่อน เริ่มระบาดหนักประมาณเดือนเมษายน 2565 หลังสต๊อกหมูไทยในห้องเย็นถูกนำมาจำหน่ายจนหมด ผ่านไป 6 เดือน กรมศุลกากรมีการรายงานสถิติการจับกุมการลักลอบนำเนื้อสุกรและชิ้นส่วนสุกรจากต่างประเทศ ตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2565  มีทั้งหมด 5 คดี รวม 43,800 กิโลกรัม มูลค่า 8,940,000 บาท นับเฉพาะกรมศุลกากรเป็นเจ้าภาพจับ ถือว่าจิ๊บจ๊อยมาก เทียบกับกรมปศุสัตว์ ทำงานคู่ขนานบุกจับห้องเย็นอีกหลายแห่งในหลายจังหวัด ยิ่งตอกย้ำความบกพร่องและละเลยในหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้น สำคัญที่สุดตอนนี้ คือ หมูเถื่อนยังมีอีกจำนวนมาก ทำอย่างไรภาครัฐจึงจะกำราบให้หมดสิ้นได้..อย่ากระทุ้งทีทำที กรมศุลกากร ว่าไง?...ปปช. รับเรื่องร้องเรียน หมูเถื่อน ทะลัก “ท่าเรือแหลมฉบัง”

ก่อนหน้านี้ นายสุนทราภรณ์ สิงห์รีวงศ์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ ชี้ว่าสถานการณ์สุกรขณะนี้มีบางอย่างผิดปกติ เนื่องจากปริมาณหมูที่ส่งเข้าพื้นที่ภาคเหนือมีมากเกินความเป็นจริง จากปกติจะมีหมูเข้าเชือดในพื้นที่ประมาณ 2,000-3,000 ตัวต่อเดือน และมีการนำเข้าซากหมูหรือหมูที่เชือดแล้วประมาณ 2-3 ล้านกิโลกรัมต่อเดือน แต่ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2565 มีการนำซากหมูขึ้นมาทางภาคเหนือเพิ่มขึ้นเป็น 5 ล้านกิโลกรัมต่อเดือน กระทบต่อยอดขายหมูมีชีวิตของฟาร์มชะลอลง 30%


“คิดไปในทางอื่นไม่ได้เลย เพราะผลผลิตหมูไทยที่เกษตรกรช่วยกันเลี้ยงจะค่อย ๆ เพิ่มปริมาณเข้าสู่สมดุลได้ราวสิ้นปีนี้ แต่หมูในตลาดกลับเพิ่มขึ้นผิดปกติ แน่นอนว่าเป็นหมูที่นำเข้าผิดกฏหมาย เพราะประเทศไทยไม่อนุญาตให้มีการนำเข้า นอกจากจะกระทบสุขอนามัยของผู้บริโภคแล้ว ยังส่งผลถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูในประเทศที่ตั้งใจผลิตหมูปลอดภัย ภายใต้ต้นทุนการป้องกันโรคที่สูงขึ้น และเป็นการทำลายแผนฟื้นฟูหมูไทยในระยะกลางและระยะยาวด้วย” นายสุนทราภรณ์ ย้ำ


ความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก “หมูเถื่อน” ทำลายเศรษฐกิจไทยในภาพรวม บิดเบือนกลไกตลาดและราคาที่ต่ำกว่าหมูไทย เนื่องจากเป็นชิ้นส่วนที่ประเทศต้นทางไม่บริโภค เปรียบเสมือนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้อาหารขยะที่ไทยรับมาในราคาถูก ทำลายสุขอนามัยของผู้บริโภค จากสารเร่งเนื้อแดงที่ปนมากับหมูเถื่อน รวมถึงโอกาสในการนำโรค ASF เข้ามาแพร่ระบาดในไทยอีกครั้ง เหล่านี้ล้วนเป็นตัดอนาคตของผู้เลี้ยงหมูไทยให้เดินหน้าตามแผนฟื้นฟูทั้งสิ้น แล้วเมื่อไหร่คนไทยจึงจะมีหมูปลอดโรค ปลอดภัย ในราคาที่เหมาะสมบริโภคกันอีกครั้ง?

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง