

สรุปข่าว
โรคกระดูกพรุน ภัยร้ายที่อันตรายมากกว่าที่คิด เพราะโรคกระดูกพรุนมักไม่มีอาการบ่งบอกล่วงหน้า แต่ส่งผลร้ายแรงถึงขั้นกระดูกหักง่าย เพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บและอัตรายถึงชีวิต วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับโรคกระดูกพรุน ทั้งสาเหตุ อาการ และวิธีป้องกัน จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความนี้
กระดูกพรุน คืออะไร?
กระดูกพรุน คือภาวะที่ร่างกายมวลกระดูกลดลง จนทำให้โครงสร้างภายในกระดูกเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้กระดูกเปราะบางและเสี่ยงต่อการหัก ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
สาเหตุของโรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน เกิดได้จากหลายปัจจัย ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้
เพศ: ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชาย
อายุ: เมื่ออายุมากขึ้น มวลกระดูกจะลดลงตามธรรมชาติ
พันธุกรรม: หากมีญาติสายตรงเป็นโรคกระดูกพรุน จะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่า
เชื้อชาติ: คนผิวขาวมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าคนผิวสี
2. ปัจจัยที่ควบคุมได้
การขาดฮอร์โมนเพศหญิง: ในผู้หญิง เมื่อหมดประจำเดือน ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง ส่งผลต่อมวลกระดูก
การขาดแคลเซียมและวิตามินดี: ร่างกายต้องการแคลเซียมและวิตามินดีเพื่อสร้างกระดูกที่แข็งแรง
การสูบบุหรี่: สารเคมีในบุหรี่ส่งผลเสียต่อมวลกระดูก
การดื่มแอลกอฮอล์: การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปส่งผลเสียต่อมวลกระดูก
การไม่ออกกำลังกาย: การออกกำลังกายช่วยเพิ่มมวลกระดูก
ยาบางชนิด: ยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาต้านการชัก ยาขับปัสสาวะ ส่งผลต่อมวลกระดูก
อาการของโรคกระดูกพรุน
อาการของโรคกระดูกพรุนมักไม่แสดงอาการเบื้องต้น ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักรู้ตัวเมื่อกระดูกหักแล้ว ซึ่งบริเวณที่พบกระดูกหักได้บ่อยจากโรคกระดูกพรุน มีดังนี้
1.กระดูกสะโพก
2.ข้อมือ
3.หลัง
4.ต้นแขน
5.ข้อเท้า
แนวทางป้องกันโรคกระดูกพรุนง่ายๆ มีดังนี้
1.ทานอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม เช่น นม โยเกิร์ต ผักใบเขียว เต้าหู้ งาดำ ถั่วเหลือง เป็นต้น
2.ทานอาหารที่มีวิตามินดี เนื่องจากวิตามินดีช่วยร่างกายดูดซึมแคลเซียมจากอาหารได้ดียิ่งขึ้น
3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4.ควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไปส่งผลต่อแรงกดทับกระดูก
ที่มาข้อมูล : RAMA CHANEL
ที่มาข้อมูล : -