

สรุปข่าว
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 25 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 2566 พื้นที่ไหน? ฝนตกหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 25 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 2566 พื้นที่ไหน? ฝนตกหนักกรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชั่วโมง (นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 25 กรกฎาคม -3 สิงหาคม 2566 อัพเดท 2023072412 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) :
วันนี้ (25 กรกฎาคม 2566) ยังมีฝนตกกระจายใกล้แนวร่องมรสุม บริเวณ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน กทม.และปริมณฑล ยังมีฝนตกหนักบางแห่ง ด้านรับมรสุมบริเวณภาคอีสานด้านตะวันออก ภาคตะวันออก (จันทบุรี และตราด) และภาคใต้ (ระนอง พังงา ) ต้องเฝ้าระวังฝนตกหนัก ฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากได้
ทั้งนี้ เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุม ส่วนร่องมรสุมยังคงพาดผ่านประเทศไทยตอนกลางๆ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวัยดนาม คลื่นลมในทะเลทั้ง 2 ฝั่ง มีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงตลอดสัปดาห์ ชาวเรือ ชาวประมงต้องเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
ในระยะนี้ ช่วง 26 - 28 กรกฎาคม 2566 ประเทศไทยตอนบน ฝนน้อยลงบ้าง เนื่องจากมีพายุเคลื่อนเข้าใกล้เกาะลูซอล ประเทศฟิลิปปินส์ จึงดึงดูดเอาความชื้นไปหล่อเลี้ยง แต่ด้านรับมรสุมยังมีฝนและคลื่นลมแรงขึ้น ต้องระวัง
สำหรับพายุไต้ฝุ่น "ทกซูรี (DOKSURI)" บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก (ตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์) กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกเฉียงเหนือ คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้หัวเกาะลูซอล ประเทศฟิลิปปินส์ ลงสู่ทะเลจีนใต้ และจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศจีนด้านจะวันออก ช่วง 26-28 กรกฎาคม 2566 พายุนี้ไม่ได้เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย จึงไม่มีผลกระทบโดยตรง แต่จะทำให้มรสุมมีกำลังแรงขึ้น
29 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 66 หลังจากพายุสลายตัวไปแล้ว ฝนจะเริ่มกลับมาอีกครั้ง แต่ยังเป็นด้านรับมรสุม และภาคอีสานด้านตะวันออก
(ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)
ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา
ภาพจาก กรมอุตุนิยมวิทยา
ที่มาข้อมูล : -